ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๖. โมคคัลลานสังยุต
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องปฐมฌาน
[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียก ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา- โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในที่นี้ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘ปฐมฌาน ปฐมฌาน’ ปฐมฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ปฐมฌาน’ ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ (การใส่ใจ สัญญา) ประกอบด้วยกาม๑- ก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่า ประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน’ ต่อมา ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็บุคคลเมื่อ จะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ปฐมัชฌานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ประกอบด้วยกาม ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยนิวรณ์ ๕ ประการ (คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ @อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๓๒-๓๓๙/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๐}

พระสุตตันปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุติยฌาน
[๓๓๓] “ที่เรียกกันว่า ‘ทุติยฌาน ทุติยฌาน’ ทุติยฌานเป็นอย่างไร ผม นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑- ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ทุติยฌาน’ ผมนั้นเพราะวิตก วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยวิตกก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท ทุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิต ให้มั่นในทุติยฌาน’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมนั้นบรรลุทุติยฌานมี ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระ ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด ถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ทุติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตติยฌาน
[๓๓๔] “ที่เรียกว่า ‘ตติยฌาน ตติยฌาน’ ตติยฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติ- สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า @เชิงอรรถ : @ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น (เจตโส เอโกทิภาวํ) คำว่า “เอโกทิ” เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌานชื่อว่า @เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิตเป็น @หนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้ มีแก่จิต ไม่มีแก่สัตว์ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร

‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๓ จบ
๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน
[๓๓๕] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา- มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร

๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากาสานัญจายตนฌาน
[๓๓๖] “ที่เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนฌาน’ อากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย นี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วง รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่’ นี้ เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน’ ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดย กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ ประกอบด้วยรูปฌานก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็น หนึ่งผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องวิญญาณัญจายตนฌาน
[๓๓๗] “ที่เรียกกันว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน’ วิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย นี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เรียกว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน’ ผมนั้น ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร

กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท วิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง ผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๖ จบ
๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากิญจัญญายตนฌาน
[๓๓๘] “ที่เรียกกันว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน’ อากิญจัญญายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย นี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เรียกว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง ผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ ยิ่งใหญ่”
อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๙. อนิมิตตปัญหาสูตร

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
[๓๓๙] “ที่เรียกกันว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญา- ยตนฌาน’ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานอยู่’ นี้เรียกว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานก็ ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงทำ จิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอนิมิตตเจโตสมาธิ
[๓๔๐] “ที่เรียกกันว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ๑- อนิมิตตเจโตสมาธิ’ อนิมิตต- เจโตสมาธิเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ อนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่’ นี้เรียกว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ’ ผมนั้นบรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ วิญญาณย่อมแล่นไปตามนิมิต @เชิงอรรถ : @ อนิมิตตเจโตสมาธิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสมาธิ (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๐/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท อนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้น ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ’ ต่อมา ผมนั้นบรรลุ อนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด ว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง ความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สักกสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะ
[๓๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่าน พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่าน พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์ บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก ฯลฯ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ ดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑-’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ @เชิงอรรถ : @ พระพุทธคุณ ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ @๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่ง @สังสาระคือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ @๒. ชื่อว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง @๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ %วิชชา% ได้แก่ %วิชชา ๓% และ%วิชชา ๘% วิชชา ๓ คือ @(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ @(๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา @(๒) มโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ @กำหนดรู้จิตผู้อื่นได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ หรือเรียก @จุตูปปาตญาณ (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา @ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ @รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา @(๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง @(๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน (๑๕) จตุตถฌาน @๔. ชื่อว่าผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว @๕. ชื่อว่าผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความ @ดับโลก (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ และมรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๑- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควร แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น ไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @๖. ชื่อว่าสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกผู้ที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ @อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ @๗. ชื่อว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วย @ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน @สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด @๘. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด ด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม @๙. ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จ @ประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรง @คายตัณหาในภพทั้งสาม (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมี @ส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐-๔๐๐) @อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ @ยอดเยี่ยม (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้ (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕, วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓) @ ๘ บุคคล ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (๓) พระผู้บรรลุ @สกทาคามิผล (๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล (๖) พระผู้ดำรงอยู่ใน @อนาคามิมรรค (๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค @(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ ดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึง พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บาง พวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าว สักกะจอมเทพดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์ บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์” ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ ดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์ บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์ บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์” ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อม ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลัง จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมดีนัก ฯลฯ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ดีนัก ฯลฯ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ ดังนี้ว่า “ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๐. สักกสูตร

โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น ไทแก่ตน ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์” ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

๑๑. จันทนสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์ ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์ บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์ ๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์ ๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์ ๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์ ๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”
สักกสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร
[๓๔๒] ครั้งนั้น จันทนเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้น สุยามเทพบุตร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ครั้งนั้น สันดุสิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้น สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้น วสวัตดีเทพบุตร ฯลฯ
(เปยยาลทั้ง ๕ นี้พึงให้พิสดารเหมือนสักกสูตร)
จันทนสูตรที่ ๑๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร ๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร ๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร ๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร ๕. อากาสานัญจายตนปัญหาสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร ๗. อากิญจัญญายตนปัญหาสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนปัญหาสูตร ๙. อนิมิตตปัญหาสูตร ๑๐. สักกสูตร ๑๑. จันทนสูตร
โมคคัลลานสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๕๐-๓๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=256              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6846&Z=7183                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=515              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=515&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3301              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=515&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3301                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i515-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn40/sn40.009.wlsh.html https://suttacentral.net/sn40.1/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.2/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.7/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.8/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.9/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn40.11/en/sujato http://www.leighb.com/sn40_1.htm



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :