ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต]

๒. ทุกกรสูตร

๕. สามัณฑกสังยุต
๑. สามัณฑกสูตร
ว่าด้วยสามัณฑกปริพาชก
[๓๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนคร แคว้นวัชชี ครั้งนั้น สามัณฑกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานคืออะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อรู้แจ้งนิพพานนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
สามัณฑกสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำได้ยาก
[๓๓๑] สามัณฑกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน พระธรรมวินัยนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต]

๒. ทุกกรสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้” “อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก” “ความยินดียิ่ง ที่บรรพชิตทำได้ยาก” “อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก” “การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก” “ผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์” “ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”
ทุกกรสูตรที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรในสังยุตนี้เช่นเดียวกับสังยุตก่อน
สามัณฑกสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๔๘-๓๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=255              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6816&Z=6845                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=513              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=513&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3296              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=513&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3296                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i513-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn39-016.html https://suttacentral.net/sn39.1-15/en/sujato https://suttacentral.net/sn39.16/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :