ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๑. นิรามิสสูตร
ว่าด้วยปีติและสุขที่มีอามิสและไม่มีอามิส
[๒๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสยิ่ง กว่าปีติไม่มีอามิสก็มี สุขมีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิสก็มี อุเบกขามีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขา ไม่มีอามิสก็มี วิโมกข์มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มี อามิสก็มี ปีติมีอามิส เป็นอย่างไร คือ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ปีติที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ปีติมีอามิส ปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ปีติไม่มีอามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ ปีติที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณา จิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้ พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มี อามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส สุขมีอามิส เป็นอย่างไร คือ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส สุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป เธอบรรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส อุเบกขามีอามิส เป็นอย่างไร คือ กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส อุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิโมกข์มีอามิส เป็นอย่างไร คือ วิโมกข์ที่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์ไม่มีอามิส ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร คือ วิโมกข์ที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส”
นิรามิสสูตรที่ ๑๑ จบ
อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีวกสูตร ๒. อัฏฐสตสูตร ๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร ๕. ญาณสูตร ๖. สัมพหุลภิกขุสูตร ๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๙. ตติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. สุทธิกสูตร ๑๑. นิรามิสสูตร
เวทนาสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=225              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6234&Z=6294                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=446              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=446&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3207              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=446&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3207                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i427-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.031.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.031.nypo.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn36-031.html https://suttacentral.net/sn36.31/en/sujato https://suttacentral.net/sn36.31/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :