ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร

๔. อคารสูตร
ว่าด้วยเรือนพัก
[๒๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทางอยู่ คนทั้งหลายมาจากทิศ ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง เข้ามาพักในเรือนพักคนเดินทางนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่างๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง สุขเวทนาเจืออามิส๑- เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเจืออามิส๒- เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุข- เวทนาเจืออามิส๓- เกิดขึ้นบ้าง สุขเวทนาไม่เจืออามิส๔- เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาไม่เจือ อามิส๕- เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส๖- เกิดขึ้นบ้าง”
อคารสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๒๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ สุขเวทนาเจืออามิส หมายถึงเวทนาอันประกอบด้วยอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ ทุกขเวทนาเจืออามิส หมายถึงทุกขเวทนาที่มีอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส หมายถึงอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ สุขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปฐมฌานเป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง @วิปัสสนาและด้วยสามารถแห่งอนุสสติ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ ทุกขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงโทมนัสสเวทนาอันเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เข้าไปตั้งความปรารถนาไว้ @ในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยสามารถจตุตถฌาน @(สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=208              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5854&Z=5863                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=398              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=398&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3085              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=398&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3085                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i391-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.014.nypo.html https://suttacentral.net/sn36.14/en/sujato https://suttacentral.net/sn36.14/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :