ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร

๒. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยคู่
๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๑
[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑- อะไรเป็นโทษ๒- ของจักขุ (ตา) อะไรเป็น เครื่องสลัดออกจากจักขุ ฯลฯ โสตะ (หู) ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ฯลฯ กาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของมโน (ใจ) อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากมโน ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยจักขุเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของจักขุ สภาพที่จักขุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของจักขุ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓- ในจักขุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากจักขุ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโสตะ ฯลฯ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยฆานะ ฯลฯ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยชิวหาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของชิวหา สภาพที่ชิวหา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของชิวหา ธรรมเป็นที่กำจัด ฉันทราคะ๔- ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากชิวหา @เชิงอรรถ : @ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อยหรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจที่เกี่ยวข้องกามคุณ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย มีทุกข์กายและทุกข์ใจซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) @ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดที่ไม่รุนแรง (ฉันทะ) และความกำหนัดที่รุนแรง (ราคะ) @(วิ.อ. ๓/๓๒๙/๕๗๒, ขุ.ม.อ. ๘/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยกาย ฯลฯ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยมโน นี้เป็นคุณของมโน สภาพที่มโนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของมโน ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม เป็นที่ละฉันทราคะในมโน นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากมโน’ ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ- ญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’ แต่เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดย ความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑- เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ปฐมปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๒
[๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของสัททะ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของธรรมารมณ์ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’ @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละได้แล้ว และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑-๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=129&Z=151                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=13              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=13&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=52              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=13&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=52                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i013-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-013.html https://suttacentral.net/sn35.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.13/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :