ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. วักกลิสูตร
ว่าด้วยพระวักกลิ
[๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่โรงช่างหม้อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า’ และขอพวกท่านจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จ ไปเยี่ยมภิกษุวักกลิถึงที่อยู่เถิด” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ พระองค์ด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยม ภิกษุวักกลิถึงที่อยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร ได้เสด็จ เข้าไปเยี่ยมท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ท่านพระวักกลิได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จ มาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระวักกลิดังนี้ว่า “อย่าเลย วักกลิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามว่า “วักกลิ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ” ท่านพระวักกลิกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

“วักกลิ เธอไม่รำคาญ ไม่ทุรนทุรายบ้างหรือ’ “ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก พระพุทธเจ้าข้า’ “วักกลิ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่’ “ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า’ “วักกลิ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ ทุรนทุรายไปทำไม’ “ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคนานแล้ว แต่ร่างกายของ ข้าพระองค์ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ พระพุทธเจ้าข้า’ “อย่าเลย วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นอยู่นี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม วักกลิ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง’ “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข’ “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า’ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา .... สัญญา .... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’ “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’ ฯลฯ “ ... นั่นเป็นอัตตาของเรา’ “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระวักกลิด้วยพระโอวาทนี้แล้วทรงลุกจาก พุทธอาสน์เสด็จไปทางภูเขาคิชฌกูฏ ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระวักกลิได้เรียก ภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงช่วยอุ้มผม ขึ้นเตียงแล้วหามไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ทำไมพระอย่างผมจะพึงสำคัญ ตนว่าควรมรณภาพในละแวกบ้านเล่า’ ภิกษุผู้อุปัฏฐากเหล่านั้นรับคำแล้วอุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียง หามไปยังวิหาร กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏตลอดคืนและวันที่ยังเหลือ อยู่นั้น เมื่อราตรี๑- ผ่านไป เทวดา ๒ องค์ มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’ เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้น ดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’ เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้ว หายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิดภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าไปหาภิกษุวักกลิถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่านวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคและคำของเทวดา ๒ องค์ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์ มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้ สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว @เชิงอรรถ : @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๓, องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๘/๒๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’ เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’ ทั้งพระผู้มี พระภาคได้ตรัสถึงท่านว่า ‘อย่ากลัวเลยวักกลิ อย่ากลัวเลยวักกลิ ความตายอัน ไม่ต่ำช้าจักมีแก่เธอ การทำกาละ (ตาย) จะไม่เลวทราม’ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่แล้ว ได้บอกว่า “ท่านวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา ๒ องค์เถิด’ ลำดับนั้น ท่านพระวักกลิได้เรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงช่วยอุ้มผมลงจากเตียง ทำไมพระอย่างผมจะพึงสำคัญตน ว่าควรนั่งบนอาสนะสูงแล้วฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเล่า’ ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียง ภิกษุทั้งหลาย กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์ ฯลฯ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’ เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’ ทั้งพระผู้มี พระภาคได้ตรัสถึงท่านว่า ‘อย่ากลัวเลยวักกลิ อย่ากลัวเลยวักกลิ ความตายอัน ไม่ต่ำช้าจักมีแก่เธอ การทำกาละจะไม่เลวทราม” ท่านพระวักกลิกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงถวาย อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เธอขอถวายอภิวาท พระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า’ และขอพวกท่านจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงรูปที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’ ไม่เคลือบแคลงเวทนาที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ไม่เคลือบแคลงสัญญาที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’ ไม่เคลือบแคลงสังขารที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’ ไม่เคลือบแคลงวิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วก็จากไป เมื่อภิกษุเหล่านั้นจากไปไม่นาน ท่านพระ วักกลิก็ได้นำศัสตรามา๑- ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เธอขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลง รูปที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรัก ใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’ ไม่เคลือบแคลงเวทนาที่ไม่เที่ยง ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เคลือบแคลง วิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่ง ใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ ทั้งหลาย เราจะไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่วักกลิกุลบุตร ได้นำศัสตรามา” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว @เชิงอรรถ : @ นำศัสตรามา ในที่นี้หมายถึงนำศัสตรามาฆ่าตัวตาย คือตัดก้านคอ @(สํ.ข.อ. ๒/๘๗/๓๔๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๖. อัสสซิสูตร

ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิพร้อมด้วย ภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกล เทียว สมัยนั้น ปรากฏกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ลำดับนั้นเอง พระผู้มี พระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ฯลฯ และทิศเฉียงหรือไม่” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตรด้วย คิดว่า ‘วิญญาณของวักกลิกุลบุตรสถิตอยู่ที่ไหน’ ภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรไม่ มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”
วักกลิสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๕๗-๑๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=87              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2680&Z=2799                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=215&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7557              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=215&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7557                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i193-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.087x.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.87/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.87/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :