ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๗ ประการ
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’ ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. รู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัดออก จากรูป ๒. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ ๓. รู้ชัดสัญญา ฯลฯ ๔. รู้ชัดสังขาร ฯลฯ ๕. รู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษ แห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ รูป เป็นอย่างไร คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม เป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ แห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัด ออกจากรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และ เครื่องสลัดออกจากรูปอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลาย กำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุด พ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก เวทนา เป็นอย่างไร คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่ กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก สัญญา เป็นอย่างไร คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. รูปสัญญา ๒. สัททสัญญา ๓. คันธสัญญา ๔. รสสัญญา ๕. โผฏฐัพพสัญญา ๖. ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า สัญญา เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก สังขาร เป็นอย่างไร คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. รูปสัญเจตนา ฯลฯ ๖. ธัมมสัญเจตนา นี้เรียกว่า สังขาร เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร สภาพที่สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสังขาร ธรรมเป็นที่ กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขารทั้งหลาย นี้เป็นเครื่องสลัดออก จากสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ ปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความ ปรากฏอีก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

วิญญาณ เป็นอย่างไร คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ ๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ ๕. กายวิญญาณ ๖. มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ สภาพที่ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด ออกจากวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ เครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก ภิกษุชื่อว่าผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างนี้ ภิกษุผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เพ่งพินิจเป็นธาตุ ๒. เพ่งพินิจเป็นอายตนะ ๓. เพ่งพินิจเป็นปฏิจจสมุปบาท ภิกษุชื่อว่าผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๗-๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1379&Z=1448                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=118              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=118&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6698              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=118&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6698                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.057.than.html https://suttacentral.net/sn22.57/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.57/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :