ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

๕. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์
[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑- อะไรเป็นโทษ๒- อะไรเป็นเครื่อง สลัดออกจากรูป อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ’ ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูป เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓- ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา สภาพที่เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา ธรรมเป็นที่ กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อยหรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจที่เกี่ยวข้องกามคุณ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร สภาพที่สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร ธรรมเป็นที่ กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ สภาพที่ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวิญญาณ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด ออกจากวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่ง สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’ แต่เมื่อใดเรารู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัด ออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น จริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑- เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๒-
อัสสาทสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละได้แล้ว และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓/๑๑-๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๓๘-๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=622&Z=645                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=59              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=59&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=59&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i049-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn22.26/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.26/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :