ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. มหาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิหลายประการ
[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้ บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข และทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ ๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ ๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม ๕. กองสุข ๖. กองทุกข์ ๗. กองชีวะ สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ใครก็ตามแม้จะเอา ศัสตราคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ กรรมกึ่ง๑- ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ๒- ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๓- ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๔- ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป๕- ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น” @เชิงอรรถ : @ ตามทัศนะของครูมักขลิ โคศาล กรรม ๕ หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กรรม ๓ หมายถึง @กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม กรรม ๑ หมายถึงกายกรรมและวจีกรรมรวมกัน กรรมกึ่งหมายถึง @มโนกรรม (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) @ ปุริสภูมิ หมายถึงขั้นตอนแห่งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบุคคลนับตั้งแต่คลอดไปจนถึงวาระ @สุดท้ายของชีวิต แบ่งเป็น ๘ ขั้น คือ มันทภูมิ (ระยะไร้เดียงสา) ขิฑฑาภูมิ (ระยะรู้เดียงสา) ปทวีมังสภูมิ @(ระยะตั้งไข่) อุชุคตภูมิ (ระยะเดินตรง) เสขภูมิ (ระยะศึกษา) สมณภูมิ (ระยะสงบ) ชินภูมิ (ระยะมี @ความรอบรู้) ปันนภูมิ (ระยะแก่หง่อม) (สํ.ข.อ. ๒/๒๑๓-๒๑๕/๓๗๕, ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) @ รโชธาตุ หมายถึงที่ที่ฝุ่นจับเกาะ เช่น หลังฝ่ามือ หลังฝ่าเท้าเป็นต้น (สํ.ข.อ. ๒/๒๑๓-๒๑๕/๓๗๕, @ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) @ นิคัณฐีครรภ์ หมายถึงที่งอกซึ่งอยู่ที่ข้อหรือตา เช่น อ้อย ไม้ไผ่ และไม้อ้อ เป็นต้น @(สํ.ข.อ. ๒/๒๑๓-๒๑๕/๓๗๕, ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๘) @ มหากัป หมายถึงกำหนดระยะเวลายาวนานมาก อรรถกถาเปรียบว่ามีสระน้ำใหญ่แห่งหนึ่งเต็มด้วยน้ำ @บุคคลเอาปลายหญ้าคาจุ่มลงไปนำหยดน้ำออกมา ๑๐๐ ปี ต่อ ๑ ครั้ง จนน้ำในสระนั้นแห้ง กระทำ @เช่นนี้ไปจนครบ ๗ ครั้ง นั่นคือ ระยะเวลา ๑ มหากัป (สํ.ข.อ. ๒/๒๑๓-๒๑๕/๓๗๖, @ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้ จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ ทุกข์เอง ... เมื่อมีเวทนา ฯลฯ เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร ... เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้ จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ ทุกข์เอง ... ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการ นี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ ถึงความดับแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
มหาทิฏฐิสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=211              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=5143&Z=5207                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=431              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=431&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8213              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=431&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8213                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i417-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn24.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :