ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๑. อันตสูตร

จูฬปัณณาสก์
๑. อันตวรรค
หมวดว่าด้วยที่สุด
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยที่สุด
[๑๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง คือ ๑. ที่สุดคือสักกายะ (กายของตน) ๒. ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ ๓. ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ ๔. ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ ที่สุดคือสักกายะ เป็นอย่างไร คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ที่สุดคือสักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) นี้เรียกว่า ที่สุดคือสักกายะ ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๙๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๒. ทุกขสูตร

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ) นี้เรียกว่า ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้เรียกว่า ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง เหล่านี้แล”
อันตสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=103              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3467&Z=3493                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=274              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=274&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7998              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=274&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7998                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i274-e.php# https://suttacentral.net/sn22.103/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :