ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

๒. สนิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ
[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตก มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร กามสัญญา(ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ กามสังกัปปะ (ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ กามปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้น เพราะอาศัยกามฉันทะ กามปริเยสนา(การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย กามปริฬาหะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ พยาบาทสัญญา(ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุ พยาบาทสังกัปปะ(ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา ... พยาบาทฉันทะ(ความพอใจในพยาบาท) ... พยาบาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะ พยาบาท) ... พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ วิหิงสาสังกัปปะ(ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ... วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อน เพราะความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล- สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้ เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ... อพยาบาทปริเยสนา อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ อาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสาปริเยสนา ย่อม ปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขารีบดับคบหญ้านั้นด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัย หญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะ หรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวัง สุคติได้”
สนิทานสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=91              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3981&Z=4042                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=355              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=355&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3409              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=355&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3409                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i352-e.php#sutta2 http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/nidana/sn14-012.html https://suttacentral.net/sn14.12/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :