ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

๔. กฬารขัตติยวรรค
หมวดว่าด้วยพระกฬารขัตติยะ
๑. ภูตสูตร
ว่าด้วยภูตะ๑-
[๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่... เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า ‘สารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม๒- และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น๓- เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ‘สารีบุตร อชิต- มาณพ ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ @เชิงอรรถ : @ ภูตะ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ของสัตว์ (สํ.นิ.อ. ๒/๓๑/๖๙) @ สังขาตธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่พระอรหันต์ทั้งหลายได้รู้แล้ว เทียบเคียงไตร่ตรองแล้ว คือพระอรหันต์ @ทั้งหลายรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ (สํ.นิ.อ. ๒/๓๑/๖๘, สํ.นิ.ฏีกา ๒/๓๑/๘๘) @ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๔๕/๗๔๗, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๗/๖๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ถึง ๓ ครั้ง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สารีบุตร เธอเห็นหรือว่า นี้คือภูตะ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ซึ่งมีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม ความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ แห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น ข้าพระองค์รู้เนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้” “ดีละ ดีละ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะที่ มีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้” บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ ดับแห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรมเป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล”
ภูตสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๕๙-๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1179&Z=1262                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=98              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=98&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1525              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=98&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1525                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i098-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.031.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.031x.nypo.html https://suttacentral.net/sn12.31/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.31/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :