ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๙. นาคสูตร
ว่าด้วยช้าง
[๒๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลา ภิกษุ ทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูก ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านี้จักสำคัญตน ว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต]

๙. นาคสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้” “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้ ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็กๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์ ปางตาย เพราะการกินนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ เลื่อมใส ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต]

๑๐. พิฬารสูตร

ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง๑- ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่ กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
นาคสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว
[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน (แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ” @เชิงอรรถ : @ ผิวพรรณและกำลัง ในที่นี้หมายถึงผิวพรรณคือคุณและญาณ ไม่ได้หมายถึงผิวพรรณแห่งสรีระร่างกาย @(สํ.นิ.อ. ๒/๒๓๑/๒๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=225              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7089&Z=7127                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=677              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=677&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5617              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=677&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5617                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i662-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn20.9/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :