ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก
[๒๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย หอกที่มีใบคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักเอาฝ่ามือหรือ กำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคม’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นผู้สามารถจะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคมโน้นได้หรือ” “เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” @เชิงอรรถ : @ เพียงขณะการหยดน้ำนมโค ในที่นี้หมายถึงการรีดน้ำนมโคครั้งเดียว หรือการใช้นิ้วมือ ๒ นิ้วจับก้อน @ของหอมแล้วสูดดมครั้งเดียว (สํ.นิ.อ. ๒/๒๒๖/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต]

๖. ธนุคคหสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคมโน้น ทำไม่ได้ง่าย และบุรุษนั้นพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว ฉันใด” “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำให้ เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี ถ้าอมนุษย์จะพึงบันดาลจิต ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นแหละพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อย ลำบาก ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
สัตติสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=221              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7006&Z=7026                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=668              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=668&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5480              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=668&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5480                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i662-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn20/sn20.005.than.html https://suttacentral.net/sn20.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :