ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๓. กุมมสูตร

๓. กุมมสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเต่าถูกเชือกมัด
[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ บรรลุธรรม เรื่องเคยมีมาแล้ว มีตระกูลเต่าใหญ่อาศัยอยู่ในห้วงน้ำแห่งหนึ่งมานาน ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งถึงที่อยู่พูดว่า ‘พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยัง ท้องถิ่นนั้นนะ’ เต่าตัวนั้นได้ไปยังท้องถิ่นนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้นเต่า ตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้นถึงที่อยู่ เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังเดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปท้องถิ่นนั้นหรือ” “พ่อเต่า ฉันได้ไปท้องถิ่นนั้นมาแล้ว” “พ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีดอกหรือ” “ฉันไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้” เต่าตัวนั้นกล่าวว่า “เอาเถอะพ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีก็ตามเถิด แต่บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว” คำว่า ‘พราน’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘ลูกดอก’ นี้ เป็นชื่อของลาภ สักการะและความสรรเสริญ คำว่า ‘เชือก’ นี้ เป็นชื่อของนันทิราคะ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ นี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ อันเปรียบเหมือนลูกดอก ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
กุมมสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๖๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=154              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5923&Z=5947                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=542              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=542&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5107              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=542&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5107                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i536-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn17/sn17.003.than.html https://suttacentral.net/sn17.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :