ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๑. จีวรสูตร

๑๑. จีวรสูตร
ว่าด้วยจีวร
[๑๕๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรี- ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ประมาณ ๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม๑- บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจในทักขิณาคิรีชนบทแล้วกลับมายังพระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึงทรงบัญญัติการขบฉัน ๓ หมวด๒- ในตระกูลทั้งหลายไว้” “ท่านกัสสปะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้ คือ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกของเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลมิให้เหล่าภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว อาศัย พรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกกัน พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้ จึงทรงบัญญัติ การขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้” @เชิงอรรถ : @ เด็กหนุ่ม ในที่นี้หมายถึงภิกษุผู้มีพรรษา ๑ หรือพรรษา ๒ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๑๙๙) @ การขบฉัน ๓ หมวด ในที่นี้หมายถึงการขบฉันในโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑, ๒, ๓ แต่ในที่นี้พระมหากัสสปะ @กล่าวหมายเอาสิกขาบทที่ ๒ คือ คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะเป็นคณะ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๑๙๙) @และดูเพิ่มเติมจาก วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๐๙-๒๒๐/๓๗๐-๓๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๑. จีวรสูตร

“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอย จะเที่ยวไปเบียดเบียนตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่ง โดยมากเป็นผู้ใหม่ กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ” “ท่านกัสสปะผู้เจริญ เส้นผมทั้งหลายบนศีรษะของกระผมหงอกแล้วก็จริง ถึงกระนั้นแม้ในวันนี้พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากการกล่าวว่าเป็นเด็ก” “จริงอย่างนั้น ท่านอานนท์ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอยจะเที่ยวไปเบียดเบียน ตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ” ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ‘ทราบว่าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็น มุนีปราดเปรื่อง ถูกพระคุณเจ้ามหากัสสปะรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’ ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า ‘พระคุณเจ้ามหากัสสปะเคยเป็นอัญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี ปราดเปรื่องว่าควรรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’ ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณี ชื่อถุลลนันทากล่าววาจานี้แล้ว ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘เอาเถอะ ท่านอานนท์ ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาพูดอย่างผลุนผลันไม่ทันพิจารณา เพราะเราปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่รู้เลยว่า เรา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศศาสดาอื่น นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์ได้มีความคิดว่า ‘ฆราวาสช่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๑. จีวรสูตร

คับแคบ๑- เป็นทางมาแห่งธุลี๒- บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดีเราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต’ สมัยต่อมา เราได้ทำสังฆาฏิด้วยผ้าเก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก ผมนั้นเมื่อบวชแล้วขณะที่เดินทางไกล ได้พบพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งอยู่ ที่พหุปุตตเจดีย์ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับบ้านนาลันทา ครั้นพบแล้วผมได้มีความ คิดว่า ‘เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มี พระภาคด้วย’ ท่านผู้มีอายุ ผมนั้นได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก’
ประทานโอวาท ๓ ประการ
เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ ผู้ใดยังไม่รู้จักสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว พึงพูดว่า ‘รู้’ ยังไม่เห็น พึงพูดว่า ‘เห็น’ แม้ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่า ‘รู้’ เห็นอยู่ จึงพูดว่า ‘เห็น’ เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าไปตั้งหิริและ โอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ ผู้เป็นมัชฌิมะ’ เธอพึง ศึกษาอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ฆราวาสช่างคับแคบ หมายถึงชีวิตการครองเรือนต้องดูแลกิจการหลายอย่างมีข้อผูกพันมากมาย @และไม่มีโอกาสทำกุศล (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑) @ เป็นทางมาแห่งธุลี หมายถึงชีวิตการครองเรือนดังกล่าวเป็นที่มา เป็นบ่อเกิดแห่งธุลีคือราคะเป็นต้น @(สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๑. จีวรสูตร

เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักฟังธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการ ถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิต๑- มาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม’ เธอพึงศึกษา อย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ละกายคตาสติ ที่ประกอบด้วยความยินดี๒-’ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทผมด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป ผมเป็นหนี้บริโภค๓- ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ อรหัตตผล จึงเกิดขึ้น คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากทางไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ผมจึง ปูลาดผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าซ้อนเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’ พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบน อาสนะที่ผมจัดถวาย แล้วตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ สังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของเธอ ผืนนี้อ่อนนุ่ม’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรด อนุเคราะห์ ทรงรับสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของข้าพระองค์เถิด’ พระองค์ตรัสว่า ‘เธอจักทรงผ้าป่านบังสุกุลของเราที่ใช้สอยแล้วหรือ’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทรงผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้วของพระผู้มีพระภาค’ ผมได้ ถวายผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้ สอยแล้วของพระผู้มีพระภาคมา แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘บุตรของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรม @เชิงอรรถ : @ ประมวลจิต ในที่นี้หมายถึงรักษาจิตไม่ให้ตกไปสู่อารมณ์ภายนอก (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๒๐) @ ประกอบด้วยความยินดี ในที่นี้หมายถึงกายคตาสติที่ประกอบด้วยความสุขที่เกิดจากปฐมฌาน @(สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๒๑) @ บริโภค มี ๔ อย่าง คือ (๑) เถยยบริโภค บริโภคอย่างขโมย เช่น ภิกษุทุศีลบริโภค (๒) อิณบริโภค @บริโภคอย่างเป็นหนี้ เช่น การบริโภคของภิกษุผู้มีศีล แต่ไม่พิจารณาในเวลาบริโภค (๓) ทายัชชบริโภค @บริโภคอย่างเป็นทายาท เช่น การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก (๔) สามีบริโภค การบริโภคอย่างเป็น @เจ้าของ หมายถึงการบริโภคของพระขีณาสพ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๔/๒๒๑, วิสุทฺธิ. ๑/๑๙/๔๕-๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๒. ปรัมมรณสูตร

เนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’ บุคคลเมื่อจะ กล่าวถึงคนนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวกับผมว่า ‘บุตรของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิด แต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’ ผมสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ผมต้องการ ผม ฯลฯ ตราบเท่าที่ผม ต้องการ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้]
ท่านผู้มีอายุ ผมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใดสำคัญ ผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง ว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว
จีวรสูตรที่ ๑๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๕๖-๒๖๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=149              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5721&Z=5816                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=518              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=518&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4415              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=518&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4415                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/sn16.11/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.11/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :