ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๑๐. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล
[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ โครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูกของบุคคลคนหนึ่งผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปตลอด ๑ กัป ถ้านำ กระดูกนั้นนำมากองรวมกันได้ และกระดูกที่กองรวมกันไว้ ไม่สูญหายไป พึงใหญ่ เท่าภูเขาเวปุลละนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ... พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปว่า “เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้ ๑ กัป พึงกองสุมเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวถึงนั้น คือ ภูเขาหลวงชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งตั้งล้อมรอบกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป”
ปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร ๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร ๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร ๗. สาวกสูตร ๘. คังคาสูตร ๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๒๓-๒๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=128              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4910&Z=4938                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=440              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=440&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3985              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=440&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3985                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i421-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn15.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :