ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๒. ทุพพัณณิยสูตร

๒. ทุพพัณณิยสูตร
ว่าด้วยยักษ์ผู้มีผิวพรรณไม่งาม
[๒๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมี ผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บน ที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วย ประการใดๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าดูน่าชม และน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอม เทพถึงที่ประทับ ได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานวโรกาส ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของ พระองค์ ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ ชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ยักษ์ตนนั้นคงเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่ทีเดียวพระเจ้าข้า’ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธ เป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่แล้วประนมมือไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ ประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ... ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะ จอมเทพ ... ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้นกลับมีผิวพรรณไม่งามและต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์ตนนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณ ไม่งาม และต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิมแล้วได้หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๓. สัมพริมายาสูตร

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนที่ประทับของพระองค์แล้ว เมื่อจะ ทรงทำให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยินดี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า เราเป็นผู้มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบกระทั่ง เป็นผู้ที่ใครๆ จะชักนำไปไม่ได้ง่าย เราไม่โกรธใครมานานแล้ว ความโกรธไม่ฝังอยู่ในใจเรา ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และคำไม่ชอบเป็นอันขาด เราเห็นประโยชน์ตน จึงบังคับตนได้”
ทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๙๒-๓๙๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=268              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7677&Z=7710                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=946              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=946&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8683              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=946&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8683                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i943-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn11.22/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.22/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :