ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต
[๒๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ เราจงมาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด’ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ‘ท่านท้าว- เวปจิตติ ตกลงตามนั้น พวกเรามาเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต’ ครั้งนั้น พวกเทพและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินโดยมีกติกาว่า ‘ผู้ตัดสินเหล่านี้จะต้องรู้ ทั่วถึงคำสุภาษิต และคำทุพภาษิต’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงตรัสคาถาขึ้นก่อน’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้ ท้าวสักกะ จอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านเป็นเทพใน เทวโลกนี้มาก่อน ฉะนั้น ขอให้ท่านจงกล่าวคาถาก่อน เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้ ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทพต่างก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะ จอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้ว่า ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้ เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้ เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกเทพก็พากันอนุโมทนา พวกอสูร ก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า ‘ท้าวเวปจิตติ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า ท่านท้าววาสวะ ข้าพเจ้าเห็นคุณ และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า เมื่อใด คนพาลเข้าใจบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทพ ต่างก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า บุคคลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นต่อเราได้ เพราะความกลัวหรือไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง เพราะว่าบุคคลผู้อ่อนแรงจำต้องอดทนอยู่เอง กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง และมีธรรมคุ้มครองแล้ว ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๖. กุลาวกสูตร

เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทพพากัน อนุโมทนา พวกอสูรต่างก็นิ่งเฉย ครั้งนั้น ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทพและพวกอสูรได้ กล่าวดังนี้ว่า ‘ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว แต่คาถาเหล่านั้นมีความ เกี่ยวข้องกับอาชญา มีความเกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงยังมีความ ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ส่วนท้าวสักกะจอมเทพตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว คาถาเหล่านั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญา ไม่เกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงไม่มี ความทะเลาะ ไม่มีความแก่งแย่ง ไม่มีความวิวาท ท้าวสักกะจอมเทพชนะเพราะได้ กล่าวคำสุภาษิต ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยประการฉะนี้”
สุภาสิตชยสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๖๖-๓๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=251              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7174&Z=7242                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=877              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=877&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8424              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=877&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8424                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i847-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn11/sn11.005.than.html https://suttacentral.net/sn11.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn11.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :