ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
[๑๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า ปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวก๑- นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป ๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง ประทีป และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙-๑๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

อุปมาเหมือนบุรุษไปจากความมืดสู่ความมืดมิด หรือไปจากความมืดมัว สู่ความมืดมัว หรือไปจากสายเลือดชั่วสู่สายเลือดชั่ว แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อุปมาเหมือนบุรุษขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือ ขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

อุปมาเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลง จากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือลงจากพื้นดินเข้าสู่ที่มืด แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้สว่างมา แต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็ ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อุปมาเหมือนบุรุษก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือก้าวไปด้วยดีจากหลัง ม้าสู่หลังม้า หรือก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่ ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล ผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาและมืดไป มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ แต่มีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาแต่สว่างไป มหาบพิตร บุรุษมั่งมี แต่ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและมืดไป มหาบพิตร บุรุษมั่งมี ทั้งมีศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๒. อัยยิกาสูตร

ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่นๆ ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและสว่างไป
ปุคคลสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๖๑-๑๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=132              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2987&Z=3086                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=393              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=393&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4041              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=393&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4041                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i393-e.php# https://suttacentral.net/sn3.21/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :