ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๕. อนังคณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
บุคคล ๔ ประเภท
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย มากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนิน๑- แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน๒-’ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้ @ ตน ในที่นี้หมายถึงจิตตสันดาน (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑, ๖๕/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

๒. บุคคลบางคนเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ ๓. บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ ๔. บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท ที่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท ที่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลใดเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ บรรดาบุคคล ๒ ประเภท ที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลนี้บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’ [๕๘] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ ถามท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิต กล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’ และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้ไม่มีกิเลสเพียงดัง เนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

[๕๙] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนิน ภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมา จากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทองมีฝุ่นและสนิมจับเกรอะกรัง เจ้าของจะไม่พึง ใช้สอยและไม่ขัดสีภาชนะสำริดนั้น ซ้ำยังเก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละอองฉะนั้น เมื่อเป็น เช่นนั้น ต่อมา ภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของเศร้าหมองถูกสนิมจับยิ่งขึ้น” ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้มีกิเลสเพียง ดังเนินแต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวัง ข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้าหมองตายไป บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักทำความ พอใจให้เกิดขึ้น จักพยายาม จักปรารภความเพียรเพื่อละกิเลสเพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่เศร้าหมอง ตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทอง มีฝุ่นและสนิมจับเกรอะกรัง เจ้าของจะพึงใช้สอยและขัดสีภาชนะสำริดนั้น ทั้งไม่ เก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละอองฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมาภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของ บริสุทธิ์ผ่องใส” ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้มีกิเลสเพียง ดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เรามีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

คือเขาจักทำความพอใจให้เกิดขึ้น จักพยายาม จักปรารภความเพียรเพื่อละกิเลส เพียงดังเนินนั้น เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิต ไม่เศร้าหมองตายไป บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักมนสิการ สุภนิมิต(เครื่องหมายว่างาม) เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้ เขาจัก เป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือน ภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส แต่เจ้าของไม่ได้ใช้สอย ทั้งไม่ขัดสีภาชนะสำริดนั้น ซ้ำยังเก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละออง ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมาภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับได้” ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้ไม่มีกิเลส เพียงดังเนินและไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจัก ครอบงำจิตได้ เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตเศร้า หมองตายไป บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินและรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวังข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่ มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ครอบงำจิต เขาจักเป็น ผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่เศร้าหมองตายไป เปรียบเหมือนภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาด หรือจากตระกูลช่างทองเป็นของ บริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใช้สอยและขัดสีภาชนะสำริดนั้น ทั้งไม่เก็บมันไว้ในที่ที่มีฝุ่นละออง ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ต่อมา ภาชนะสำริดนั้นพึงเป็นของบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งนัก” ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้ไม่มีกิเลส เพียงดังเนินและรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เราไม่มีกิเลสเพียงดังเนินภายในตน’ พึงหวัง ข้อนี้ได้ คือเขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ ครอบงำจิต เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีจิตไม่ เศร้าหมองตายไป ท่านโมคคัลลานะ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้มี กิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่ อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’ และนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่บรรดาบุคคล ๒ ประเภทผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินเหมือนกันนี้ บุคคลหนึ่งบัณฑิต กล่าวว่า ‘เป็นบุรุษต่ำทราม’ แต่อีกบุคคลหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ‘เป็นบุรุษประเสริฐ’
กิเลสเพียงดังเนิน
[๖๐] ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวว่า ‘กิเลส เพียงดังเนิน กิเลสเพียงดังเนิน’ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นั่นเป็นชื่อของอะไรหนอ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นี้ เป็น ชื่อของอิจฉาวจร๑- ที่เป็นบาปอกุศล เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงรู้ว่า เราต้องอาบัติแล้ว’ แต่เป็นไปได้ที่ ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายรู้ว่า เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว’ ความโกรธและความไม่ แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน @เชิงอรรถ : @ อิจฉาวจร หมายถึงการประพฤติตนในทางต่ำทรามตามอำนาจความปรารถนา (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๕, @ม.มู.ฏีกา ๑/๖๐/๓๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเราในที่ลับเฉพาะ ไม่พึงโจทในท่ามกลางสงฆ์ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ ไม่พึงโจทในที่ลับเฉพาะ ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่าม กลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับเฉพาะ’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุผู้เสมอกัน๑- พึงโจทเรา ภิกษุผู้ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่เสมอกันพึงโจทภิกษุนั้น ภิกษุผู้เสมอกันไม่โจทภิกษุนั้น ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุผู้ไม่เสมอกันโจทเรา แต่ภิกษุผู้ เสมอกันไม่โจทเรา’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอพระศาสดาทรงซักถามเฉพาะเราบ่อยๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย’ แต่เป็น ไปได้ที่พระศาสดา พึงทรงซักถามภิกษุอื่นบ่อยๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามภิกษุนั้นบ่อยๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘พระศาสดาทรงซักถาม ภิกษุอื่นบ่อยๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรงซักถามเราบ่อยๆ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอภิกษุทั้งหลายแวดล้อมเราเท่านั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ไม่แวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุ ทั้งหลายพึงแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ไม่แวดล้อมภิกษุ @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เสมอกัน หมายถึงภิกษุผู้ต้องอาบัติโจทภิกษุผู้ต้องอาบัติข้อเดียวกัน (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

นั้นอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายแวดล้อมภิกษุอื่นอย่างหนาแน่นแล้วเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร ไม่แวดล้อมเราอย่างหนาแน่นเข้าบ้านเพื่อภัตตาหาร’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ๑- น้ำที่ดีเลิศ๒- บิณฑบาตที่ดีเลิศ๓- ใน โรงฉัน ภิกษุอื่นไม่พึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน ดังนั้น ภิกษุนั้น ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศในโรงฉัน เราไม่ได้อาสนะที่ดีเลิศ น้ำที่ดีเลิศ บิณฑบาตที่ดีเลิศ ในโรงฉัน’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา ภิกษุอื่นฉันในโรงฉัน เสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วพึงได้อนุโมทนา ภิกษุนั้นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วไม่พึงได้อนุโมทนา ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันเสร็จแล้วได้อนุโมทนา เราฉันในโรงฉัน เสร็จแล้วไม่ได้อนุโมทนา’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลส เพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุอื่นไม่ @เชิงอรรถ : @ อาสนะที่ดีเลิศ หมายถึงที่นั่งหัวแถว (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗) @ น้ำที่ดีเลิศ หมายถึงน้ำทักษิณา (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗) @ บิณฑบาตที่ดีเลิศ หมายถึงบิณฑบาตที่ถวายแก่พระเถระผู้เป็นประธานในสงฆ์ (ม.มู.อ. ๑/๖๐/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

พึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ ในอาราม ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในอาราม’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ฯลฯ พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ฯลฯ พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุอื่นไม่พึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุ อื่นพึงได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ภิกษุนั้นไม่ได้แสดงธรรม แก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้อยู่ในอาราม เราไม่ได้ แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้อยู่ในอาราม’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุอื่น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ความโกรธ และความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า กิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ฯลฯ อุบาสกทั้งหลาย ฯลฯ อุบาสิกาทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น’ แต่เป็นไปได้ที่อุบาสิกาทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ดังนั้น ภิกษุนั้น ก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ความโกรธ และความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้จีวรอันประณีต’ แต่ เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้จีวรอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้จีวรอันประณีต ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้จีวรอันประณีต เราไม่ได้ จีวรอันประณีต’ ความโกรธ และความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ ขอเราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ฯลฯ เสนาสนะอันประณีต ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต’ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้คิลาน- ปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ‘ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต เราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอัน ประณีต’ ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่ากิเลสเพียงดังเนิน ท่านผู้มีอายุ คำว่า ‘กิเลสเพียงดังเนิน’ นี้ เป็นชื่อแห่งอิจฉาวจรทั้งหลายที่ เป็นบาปอกุศล
อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล
[๖๑] ท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละ ไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้ว่าภิกษุนั้นจะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีเสนาสนะ อันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก นุ่งห่มผ้าบังสุกุล เป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

นับถือ บูชาภิกษุนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมา จากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส พวกเจ้าของพึงใส่ซากงู ซากสุนัข หรือซากศพมนุษย์จนเต็มภาชนะสำริดนั้น ปิดด้วยภาชนะสำริดใบอื่นแล้ว นำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง’ เขาลุกขึ้นเปิดภาชนะ สำริดนั้นดู ความไม่พอใจ ความเป็นของปฏิกูล และความเป็นของน่ารังเกียจจึงเกิดขึ้น พร้อมกับการเห็นซากงูเป็นต้นนั้น แม้คนที่หิวก็ไม่ต้องการจะบริโภค ไม่ต้องกล่าว ถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้ว แม้ฉันใด อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้ภิกษุนั้นจะเป็นผู้อยู่ป่า เป็นวัตร มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก นุ่มห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุรูปนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจร ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่ภิกษุรูปนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ [๖๒] อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ครองจีวร ของคหบดีก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นภิกษุรูปนั้นละได้แล้ว ยังปรากฏ และเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใส่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีทั้งหลาย ที่เลือกของสกปรก ออกแล้วใส่แกงและกับข้าวหลายอย่างจนเต็มภาชนะสำริดนั้นปิดด้วยภาชนะสำริด ใบอื่นแล้วนำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้ เจริญ สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง’ เขาลุกขึ้น เปิดภาชนะสำริดนั้นดู ความพอใจ ความเป็นของไม่น่าปฏิกูล และความเป็นของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

ไม่น่ารังเกียจจึงเกิดขึ้นพร้อมกับการเห็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีนั้น แม้คนที่บริโภคอิ่ม แล้วก็ต้องการบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่หิวเลย แม้ฉันใด อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ครองจีวรของคหบดีก็ตาม เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจร ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่ภิกษุรูปนั้นละได้แล้ว ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่”
อุปมาด้วยบุตรช่างทำรถ
[๖๓] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าว กับท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร อุปมาปรากฏขึ้นแก่กระผม” ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ ขอให้อุปมาปรากฏขึ้น แก่ท่าน ท่านจงกล่าวอุปมานั้นเถิด๑-” ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ สมัยหนึ่งกระผมอยู่ ในเขตกรุงราชคฤห์ซึ่งมีภูเขาล้อมดุจคอกวัว ครั้นในเวลาเช้า กระผมครองอันตร- วาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นบุตรช่างทำรถชื่อ สมีติถากกงล้อรถอยู่ อาชีวกผู้เป็นบุตรของนายปัณฑุ ซึ่งเป็นช่างทำรถคนเก่ายืน อยู่ใกล้นายสมีติ ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ ขอบุตรของช่างทำรถชื่อสมีตินี้พึงถากส่วนโค้ง ส่วนคดและกระพี้แห่งกงล้อนี้ออกเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ กงล้อนี้ก็จะหมดโค้ง หมดคด หมดกระพี้ มีแต่แก่นล้วนๆ’ บุตร ของช่างทำรถชื่อสมีติก็ถากส่วนโค้ง ส่วนคดและกระพี้แห่งกงล้อนั้นได้เหมือนอย่าง ที่อาชีวกนั้นมีความคิดขึ้นในใจ ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ‘นายสมีติถากเหมือนรู้ใจ’ อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธาต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (ในโลกนี้) ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ด้วยศรัทธา เป็นคนโอ้อวด มีมารยา @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๙/๒๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๕. อนังคณสูตร

หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า ไม่สำรวมวาจา ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย๑- ไม่รู้ประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรในธรรม เป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใส่ใจสมณธรรม ไม่มีความเคารพอย่างหนักแน่นใน สิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน ขาดสติสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต หมุนไปผิด เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ท่านสารีบุตรถาก(กิเลส) ด้วยธรรมบรรยาย นี้เหมือนรู้ใจของบุคคลเหล่านั้น อนึ่ง กุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี มารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า สำรวมวาจา คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรใน ธรรมเป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในสมณธรรม มีความเคารพอย่างหนักแน่น ในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ ทอดธุระในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ ไม่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรม- บรรยายนี้ของท่านพระสารีบุตร เหมือนหนึ่งว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า ‘ดีจริงหนอ ท่านผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจารี ทำให้เราทั้งหลาย ออกจากอกุศลธรรมแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลธรรม สตรีสาวหรือบุรุษหนุ่มชอบแต่งตัว ชำระสระเกล้าแล้วได้ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลำดวน ประคองไว้ด้วยมือ ทั้ง ๒ แล้วยกขึ้นวางไว้เหนือเศียรเกล้า แม้ฉันใด กุลบุตรเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า สำรวมวาจา คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น @เชิงอรรถ : @ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย หมายถึงไม่สำรวมกรรมทวาร (คือ กาย วาจา ใจ) ในอินทรีย์ ๖ @คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๔) และดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๖. อากังเขยยสูตร

อย่างต่อเนื่อง ใส่ใจในสมณธรรม มีความเคารพอย่างหนักแน่นในสิกขา ไม่เป็น ผู้มักมาก ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ไม่ทอดธุระในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิต แน่วแน่ ไม่เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ของท่านพระสารีบุตรแล้ว เหมือนหนึ่งว่าจะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า ‘ดีจริงหนอ ท่านผู้เจริญ ท่าน พระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจารีทำให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลธรรมแล้วให้ ดำรงอยู่ในกุศลธรรม” พระอัครสาวกทั้ง ๒ นั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล
อนังคณสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๔-๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=752&Z=1023                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=53&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=3790              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=53&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=3790                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i053-e1.php# https://suttacentral.net/mn5/en/sujato https://suttacentral.net/mn5/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :