ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

บทภาชนีย์
ลักษณะที่ไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการบอกคืนสิกขา
๑. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำรำพึง ๑๔ บท
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเป็นอุบาสก ปรารถนาจะเป็นคนวัด ปรารถนาจะเป็นสามเณร ปรารถนาจะเป็นเดียรถีย์ ปรารถนา จะเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาจะไม่เป็นสมณะ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า “ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า” ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัย กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่ เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม (๓) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ (๔) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา (๕) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึง บอกคืนพระวินัย (๖) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระปาติโมกข์ (๗) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุทเทส๑- (๘) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌาย์ (๙) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ (๑๐) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอก คืนสัทธิวิหาริก (๑๑) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอันเตวาสิก @เชิงอรรถ : @ อุทเทส ในที่นี้ คือ การยกภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนีปาติโมกข์ขึ้นสวด (วิ.อ. ๑/๕๓/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

(๑๒) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ (๑๓) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ (๑๔) ...บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่า เป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่ เป็นการบอกคืนสิกขา
๒. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำรำพึงกำหนดภาวะ ๘ บท
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ (๒) ...พึงเป็นอุบาสก (๓) ...พึงเป็นคนวัด (๔) ...พึงเป็นสามเณร (๕) ...พึงเป็นเดียรถีย์ (๖) ...พึงเป็นสาวก เดียรถีย์ (๗) ...พึงเป็นผู้มิใช่สมณะ (๘) ...พึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา
๓.-๑๐. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำปริกัป ๑๔ บทและ ๘ บท๑-
[๔๖] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนา จะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนา จะไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืน พระพุทธเจ้า... (๘) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระ ศากยบุตร... (๑) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า... (๘) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร... (๑) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เอาเถอะ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า... (๘) ภิกษุ บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เอาเถอะ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร... (๑) ภิกษุ @เชิงอรรถ : @ บทที่ ๑-๑๔ และบทที่ ๑-๘ ดูความพิสดารในข้อ ๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า... (๘) ภิกษุ บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็น การบอกคืนสิกขา
๑๑. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำอ้างวัตถุที่ระลึก ๑๗ บท
[๔๗] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา (๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้ อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา (๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้อง ชาย (๔)...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่สาวน้องสาว (๕) ...ภิกษุบอกให้ ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพ เจ้าระลึกถึงบุตร (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงภรรยา (๘) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ (๙) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร (๑๐) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน (๑๑) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม (๑๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงนา (๑๓) ... ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน (๑๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน (๑๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง (๑๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ (๑๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา
๑๒. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำแสดงความห่วงใย ๙ บท
[๔๘] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

สายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีมารดาที่ต้องเลี้ยงดู (๒) ...ภิกษุบอก ให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีบิดาที่ต้องเลี้ยงดู (๓) ... ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีพี่ ชายน้องชายที่ต้องเลี้ยงดู (๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีพี่สาวน้องสาวที่ต้อง เลี้ยงดู (๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีบุตรที่ต้องเลี้ยงดู (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้ อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีธิดาที่ต้องเลี้ยงดู (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีภรรยาที่ ต้องเลี้ยงดู (๘) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีหมู่ญาติที่ต้องเลี้ยงดู (๙) ...ภิกษุ บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีหมู่มิตรที่ต้องเลี้ยงดู ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา
๑๓. การบอกคืนสิกขาด้วยการใช้คำอ้างที่อยู่อาศัย ๑๖ บท
[๔๙] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีมารดา ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีบิดา ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๓) ...ภิกษุ บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีพี่ชายน้องชาย เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๔) ...ภิกษุบอกให้ ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีพี่สาวน้องสาว เธอจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า ข้าพเจ้ามีบุตร เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีธิดา เธอจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีภรรยา เธอจักเลี้ยงดู ข้าพเจ้า (๘) ... ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีหมู่ญาติ พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๙) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีหมู่มิตร พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า (๑๐) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีบ้าน ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยบ้านนั้น (๑๑) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีนิคม ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยนิคมนั้น (๑๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีนา ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยนานั้น (๑๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีสวน ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยสวนนั้น (๑๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีเงิน ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยเงินนั้น (๑๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีทอง ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยทองนั้น (๑๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้ามีศิลปะ ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพด้วยศิลปะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา
๑๔. การบอกคืนสิกขาด้วยการอ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก ๘ บท
[๕๐] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า พรหมจรรย์ทำได้ยาก (๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย (๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่าพรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก (๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย (๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า เราไม่อาจ (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เราไม่สามารถ (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เราไม่ยินดี (๘) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า เราไม่รื่นเริง ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ แต่ไม่เป็นการ บอกคืนสิกขา
ลักษณะที่จัดว่าเป็นการบอกคืนสิกขา
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าการเปิดเผยความท้อแท้และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๑. การบอกคืนสิกขาด้วยคำเป็นปัจจุบัน ๑๔ บท
(๑) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา (๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม (๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ (๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา (๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระวินัย (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระปาติโมกข์ (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนอุทเทส (๘) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌาย์ (๙) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่น รู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ (๑๐) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืน สัทธิวิหาริก (๑๑) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนอันเตวาสิก (๑๒) ...ภิกษุ บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌาย์ (๑๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ (๑๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าบอกคืน เพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๒. การบอกคืนสิกขาโดยการแสดงภาวะ ๘ บท
(๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็นเชื้อสายพระ ศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นคฤหัสถ์ (๒) ...ภิกษุบอกให้ผู้ อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก (๓) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจงจำ ข้าพเจ้าว่าเป็นคนวัด (๔) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นสามเณร (๕) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นเดียรถีย์ (๖) ...ภิกษุบอกให้ผู้ อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ (๗) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจง จำข้าพเจ้าว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ (๘) ...ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๓. การบอกคืนสิกขาโดยใช้คำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง ๑๔ บท
[๕๒] (๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุกระสัน ไม่ยินดี ปรารถนาจะสึก อึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจเพศภิกษุ ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ปรารถนาจะไม่เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

เชื้อสายพระศากยบุตร บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าเลิกเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ฯลฯ (๑๔) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าเลิกเกี่ยวข้องกับเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๔. การบอกคืนสิกขาโดยใช้คำว่าจะมีอะไร ๑๔ บท
(๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้บอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าจะมีอะไร กับพระพุทธเจ้า ฯลฯ (๑๔) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าจะมีอะไรกับเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๕. การบอกคืนสิกขาโดยใช้คำว่าไม่ต้องการ ๑๔ บท
(๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการพระพุทธเจ้า ฯลฯ (๑๔) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
๖. การบอกคืนสิกขาโดยใช้คำว่าพ้นขาดแล้ว ๑๔ บท
(๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าพ้นขาดแล้วจากพระพุทธเจ้า ฯลฯ (๑๔) ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ว่า ข้าพเจ้าพ้นขาดแล้วจากเพื่อนพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
บอกคืนสิกขาโดยการใช้คำไวพจน์
[๕๓] อีกประการหนึ่ง คำที่เป็นไวพจน์๑- ของพระพุทธ คำที่เป็นไวพจน์ของ พระธรรม คำที่เป็นไวพจน์ของพระสงฆ์ คำที่เป็นไวพจน์ของสิกขา คำที่เป็นไวพจน์ @เชิงอรรถ : @ ไวพจน์ ในที่นี้ หมายเอาคำที่มีรูปต่างกัน มีความหมายต่างกัน แต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน, หมายถึง คำ @ที่ใช้แทนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฯลฯ สมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ของพระวินัย คำที่เป็นไวพจน์ของพระปาติโมกข์ คำที่เป็นไวพจน์ของอุทเทส คำที่ เป็นไวพจน์ของพระอุปัชฌาย์ คำที่เป็นไวพจน์ของพระอาจารย์ คำที่เป็นไวพจน์ของ สัทธิวิหาริก คำที่เป็นไวพจน์ของอันเตวาสิก คำที่เป็นไวพจน์ของภิกษุผู้ร่วมพระ อุปัชฌาย์ คำที่เป็นไวพจน์ของภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์ คำที่เป็นไวพจน์ของเพื่อน พรหมจารี คำที่เป็นไวพจน์ของคฤหัสถ์ คำที่เป็นไวพจน์ของอุบาสก คำที่เป็นไวพจน์ ของคนวัด คำที่เป็นไวพจน์ของสามเณร คำที่เป็นไวพจน์ของเดียรถีย์ คำที่เป็น ไวพจน์ของสาวกของเดียรถีย์ คำที่เป็นไวพจน์ของผู้มิใช่สมณะ คำที่เป็นไวพจน์ของ ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร แม้อื่นใดที่มีอยู่ ภิกษุบอกให้ผู้อื่นรู้ด้วยคำที่เป็นไวพจน์ เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นสัญลักษณ์ ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการเปิดเผยความท้อแท้ และเป็นการ บอกคืนสิกขา
ลักษณะที่บอกคืนสิกขาแล้วไม่เป็นอันบอกคืน
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร ชื่อว่าไม่เป็นการบอกคืนสิกขา คือ ภิกษุผู้ วิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยคำที่เป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นสัญลักษณ์ ตามที่ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้บอกคืนสิกขากัน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุปกติบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุผู้วิกลจริต ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่านบอกคืนสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนาบอกคืนสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ย่อมไม่เป็น อันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าเทวดา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวอริยกะ ด้วยภาษาชาวอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขาต่อหน้าชาวมิลักขะ ด้วยภาษาชาวมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดเล่น ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยพูดพลั้งพลาด ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความหมาย ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ ชื่อว่าไม่เป็นอันบอกคืนสิกขา
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ อสัทธรรม ซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่จะต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง นี้ชื่อว่าเมถุนธรรม ที่ชื่อว่า เสพ ได้แก่ ภิกษุใด สอดเครื่องหมายเพศเข้าไปทางเครื่องหมายเพศ สอดองคชาตเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดเข้าไปแม้เพียงเมล็ดงา ภิกษุนี้ชื่อว่า เสพ คำว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมแม้ กับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร จะกล่าวไปใย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์ สันถตภาณวาร

ถึงการเสพกับหญิงมนุษย์เล่า ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้กับสัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนคนถูกตัดศีรษะ ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ โดยการต่อ ศีรษะเข้ากับร่างกายนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๓๔-๔๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=803&Z=1253                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=30&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=6144              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=30&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=6144                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj1/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj1:8.2.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :