ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท

ความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย แห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ ความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่ จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุรุษที่ประชิดตัวสตรีผู้กำลังถอยหนี หรือ เปรียบเหมือนบุรุษสวมกอดสตรีที่หันหลังให้ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน เราเรียกข้อ เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้ สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๑ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วง ศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๔] (๒) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่ง หมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไป บวชเป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุด มุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์ และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนคนผู้ละเลยนาของตน เข้าใจนาของ ผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นเดียวกัน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภท ที่ ๒ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ [๕๑๕] (๓) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช เป็นบรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง

ความเป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความ สุขแก่พวกท่าน’ แต่สาวกของเขากลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยง ที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น บรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความ เป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขแก่ พวกท่าน แต่สาวกของท่านกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยงที่จะ ประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้าง เครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอัน ชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๓ ซึ่ง สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ โลหิจจะ ศาสดา ๓ ประเภทเหล่านี้แล สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของ ผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ”
ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง
[๕๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่าน พระโคดม ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีบ้างไหม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีอยู่” เขาทูลถามว่า “ศาสดาประเภทนี้เป็นเช่นไร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระ อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑- (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมา ใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทัก ท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ และควรดูเทียบจนถึงข้อ ๒๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒. โลหิจจสูตร]

โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก

มีโทษ ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การ ทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอด เยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัด ว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง นี้อีกต่อไป โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่ สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ”
โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๑๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กำลังจะตกเหวคือนรก แต่ท่านพระโคดมช่วยฉุดให้ กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น เปรียบเหมือนคนผู้หนึ่งคว้าผมของอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังจะ ตกเหวแล้วฉุดให้กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อม ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โลหิจจสูตรที่ ๑๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๒๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=9&A=6686&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=12              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=7899&Z=8548&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=351              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=351&items=14              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=351&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]