ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา

๖. เภสัชชขันธกะ
๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ๕
เรื่องภิกษุอาพาธในฤดูสารท๑-
[๒๖๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดู สารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียน ออกมา ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง จึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทำไมเวลานี้ ภิกษุ ทั้งหลายจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดใน ฤดูสารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับ อาเจียนออกมา ภิกษุเหล่านั้นจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตเภสัช ๕ ในกาล
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้น ประทับในที่สงัด ได้เกิดความดำริใน พระทัยอย่างนี้ว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดูสารท แม้ข้าว @เชิงอรรถ : @ อาพาธในฤดูสารท คือ ไข้เหลือง (หรือโรคดีซ่าน) ที่เกิดขึ้นในฤดูสารท (ฤดูใบไม้ร่วง) เพราะในฤดูสารทนี้ @ภิกษุทั้งหลายเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนบ้าง เดินย่ำโคลนบ้าง แสงแดดแผดกล้าบ้าง ทำให้น้ำดีของภิกษุ @ทั้งหลายขังอยู่แต่ในถุงน้ำดี (วิ.อ. ๓/๒๖๐/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา

ต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียนออกมา ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น เราจะ อนุญาตอะไรเป็นยาแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา ทั้งจะให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เภสัช ๕ นี้ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา ทั้งให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ อย่ากระนั้นเลย เราพึง อนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วฉันในกาล” ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราหลีกเร้น อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า ‘เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายป่วยด้วย อาพาธที่เกิดในฤดูสารท แม้ข้าวต้มที่ดื่มเข้าไปก็กลับอาเจียนออกมา แม้ข้าวสวย ที่ฉันแล้วก็กลับอาเจียนออกมา ภิกษุเหล่านั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้น เอ็นขึ้นสะพรั่ง เพราะโรคนั้น เราจะอนุญาตอะไรเป็นยาแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็น ทั้งตัวยา และชาวโลกถือกันว่าเป็นยา ทั้งจะให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่ เป็นอาหารหยาบ ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เภสัช ๕ นี้ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นทั้งตัวยาและชาวโลกถือกันว่าเป็นยา ทั้งให้ประโยชน์ทางโภชนาหาร และไม่เป็นอาหารหยาบ เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วฉันในกาล’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัชทั้ง ๕ เหล่านั้นในกาลแล้วฉันในกาล”
เรื่องเภสัช ๕ ในเวลาวิกาล
[๒๖๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ ในกาลแล้วฉันในกาล โภชนาหารชนิดธรรมดาที่ฉันประจำวันของภิกษุเหล่านั้นยังไม่อาจย่อย ไม่จำต้องกล่าว ถึงโภชนาหารชนิดที่มีไขมัน ภิกษุเหล่านั้นจึงป่วยด้วยอาพาธที่เกิดในฤดูสารท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๐. ปัญจเภสัชชกถา

และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามท่านพระอานนท์ อีกว่า “อานนท์ ทำไมเวลานี้ ภิกษุทั้งหลายจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ ใน กาลแล้วฉันในกาล โภชนาหารชนิดธรรมดาที่ฉันประจำวันของภิกษุเหล่านั้นยังไม่ อาจย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารชนิดที่มีไขมัน ภิกษุทั้งหลายจึงป่วยด้วยอาพาธ ที่เกิดในฤดูสารท และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ ฉันได้ทั้ง ในกาลและในเวลาวิกาล”

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔๓-๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=5&A=1132&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=5&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=723&Z=774&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=25              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=25&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=25&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]