ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้ ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก ห้วงน้ำและบ่วง๑- ท่านถอนได้แล้ว” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก” [๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กิจ๒- ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส @(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕) @ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกมีอยู่” [๒๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) ความเป็นผู้ชอบการงาน (๒) ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย (๓) ความเป็นผู้ชอบ การนอนหลับ (๔) ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ (๕) ไม่พิจารณาจิตตาม ที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น “พระอรหันต์จึงเสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๔๕/๑๒-๑๓, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๙/๒๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ความเป็นผู้ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๖๘] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ปร. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย (และ) อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ปร. ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูกโมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. ราคะก่อตัวขึ้น สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. โทสะก่อตัวขึ้น ฯลฯ สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น ปร. โมหะก่อตัวขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ยังสะสม(จุติและปฏิสนธิ)อยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ไม่สะสมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังก่ออยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๒. ปริหานิกถา

สก. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสมแล้วจึง ดำรงอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสม แล้วจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึงดำรงอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึง ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดแล้วจึงดำรงอยู่ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้วจึง ดำรงอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้ว จึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
ปริหานิกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๓๘-๑๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=3834&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=2206&Z=3060&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=191              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=191&items=64              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=191&items=64              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]