ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
             [๖๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม
             สก. ใช่
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)

ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใด ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป [๖๒๔] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่ ๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ ๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า ไม่ตาย ๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้ เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๗/๑๑๒, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๙๐, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๕๑/๒๗๙-๒๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค]

๘. สมาธิกถา (๑๑๓)

ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์พึงดำรง อยู่ได้ตลอดกัป”
อิทธิพลกถา จบ
๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ว่าด้วยสมาธิ
[๖๒๕] สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอนาคตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๒/๒๕๘-๒๕๙ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาทและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙) @ เพราะมีความเห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นนานๆ หลายขณะจิตจึงจะเป็นสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็น @ของสกวาทีที่เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้น แม้ในขณะจิตดวงเดียว ก็เป็นสมาธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๖๘๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๖๘๐-๖๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=37&A=18683&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=131              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=14813&Z=14897&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1460              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1460&items=6              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1460&items=6              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]