ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๕] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์๑- แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้ เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน [๑๘๖] บุคคลผู้มีราคะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละราคะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีราคะ บุคคลผู้มีโทสะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละโทสะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทสะ บุคคลผู้มีโมหะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละโมหะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโมหะ บุคคลผู้มีมานะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละมานะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมานะ @เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ @อื่นที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่าอเสขบุคคล @(ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๗] บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน๑- แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง๒- เป็นไฉน๓- บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ แต่ ไม่ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่ง จิตภายใน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่ไม่ได้สมาบัติมีรูป เป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ได้ โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ไม่ ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอัปปนาจิตตสมาธิในสันดาน(ความสืบต่อแห่งจิตคือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกัน)ของตน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖) @ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาญาณที่กำหนดรู้สังขารคือปัญญาอันยิ่ง @และความเห็นแจ้งในธรรมคือเบญจขันธ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๒/๑๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๘] บุคคลผู้ไปตามกระแส๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกามและทำบาปกรรม๒- บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไปตาม กระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม ถึงจะมีทุกข์ โทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้า แต่ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีภาวะตั้งมั่น บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองอยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรง อยู่บนบก [๑๘๙] บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ๓- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขาหารู้อรรถ๔- รู้ธรรม๕- แห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕/๗-๘ @ บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการฆ่าสัตว์เป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๐ @ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงบาลี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ [๑๙๐] บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒- ในวันข้างหน้า บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม บุคคลผู้เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๘/๑๓๔-๑๓๕ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๑ (เอกกปุคคลบัญญัติ) หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
จตุกกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=36&A=5920&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=3659&Z=4544&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=619              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=36&item=619&items=37              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=36&item=619&items=37              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]