ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ทุกนัย
ปกิณณกทุกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี๑- ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี รูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี รูปที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี รูปที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี รูปที่ไกลก็มี ที่ใกล้ก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๒- รูปขันธ์หมวดละ ๒ มีด้วยอาการอย่างนี้๓- (ในที่นี้ก็พึงจำแนกรูปขันธ์ที่เหลือเหมือนในรูปกัณฑ์)
สุขุมรูปทุกะ จบ
@เชิงอรรถ : @ ตรงกับคำบาลีว่า อุปาทินฺน (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐) @ คำว่า กวฬิงการาหาร หมายถึงอาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน (อภิ.สงฺ.อ. ๖๔๕/๓๘๘) @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ติกนัย
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป รูปที่เป็นภาย นอกที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ รูปที่เป็น ภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทาน รูปที่เป็นภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกที่เป็นกวฬิงการาหาร ก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๑- รูปขันธ์หมวดละ ๓ มีด้วยอาการอย่างนี้
สุขุมรูปติกะ จบ
@เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๕/๑๗๑-๑๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

จตุกกนัย
อุปาทินนจตุกกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่ ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น อารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี รูปที่ไม่เป็น อุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี
อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี ฯลฯ
ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่รู้ได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้ รูปขันธ์หมวดละ ๔ มีด้วยอาการอย่างนี้๑- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๖/๑๗๖-๑๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

ปัญจกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ รูปที่เป็นปฐวีธาตุ รูปที่เป็นอาโปธาตุ รูปที่เป็น เตโชธาตุ รูปที่เป็นวาโยธาตุ รูปที่เป็นอุปาทายรูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้๑-
ฉักกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ รู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้๒-
สัตตกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้๓-
อัฏฐกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่กายวิญญาณ รู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโน- วิญาณธาตุรู้ได้ รูปขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้๔- @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๗/๑๗๘ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๘/๑๗๙ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๙/๑๗๙ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๐/๑๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๒. เวทนาขันธ์

นวกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ รูปขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้๑-
ทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ และรูป ที่ไม่เป็นอินทรีย์ ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้๒-
เอกาทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๓- นี้เรียกว่า รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๑/๑๘๐ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๒/๑๘๐ @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๓/๑๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๘-๒๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=501&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=393&Z=458&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=32              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=32&items=12              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=32&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]