ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า หรือโลกไม่เที่ยง นี้เท่า นั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯลฯ ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจา- ภินิเวสกายคันถะ เหล่านี้ชื่อว่าคันถะ ๔ (๒) โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน อุปาทาน ๔ คือ ๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นทิฏฐิ) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นศีลพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นวาทะว่ามีตัวตน) บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น กามุปาทาน เป็นไฉน ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้ยิ่งเห็นจริงแจ้งประจักษ์โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วสอน ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีสุตะน้อย ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ เห็น สัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตน หรือย่อม พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน เหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน ๔ (๕) [๙๓๙] ตัณหุปาทาน เป็นไฉน ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ หรือเพราะคิลานปัจจัยอันมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นที่ประณีตและประณีตยิ่งด้วยประการฉะนี้เป็นเหตุ เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทาน (๖) อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน บุคคลย่อมถึงความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เพราะเกลียดชัง เพราะเขลา เพราะกลัว ความลำเอียง การถึงความลำเอียง การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ความ ลำเอียงเพราะเป็นพรรคพวกกัน ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล มีลักษณะเช่นว่านี้ เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน การแสวงหาผิดด้วยอำนาจความเข้าใจ ความคิด และความเห็นว่าเที่ยงใน สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน และว่า งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้ชื่อว่าวิปริเยสะ ๔ (๘) อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ คือ ๑. เรื่องที่ไม่เห็นพูดว่าเห็น ๒. เรื่องที่ไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน ๓. เรื่องที่ไม่รู้พูดว่ารู้ ๔. เรื่องที่ไม่รู้แจ้งพูดว่ารู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๙) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. เรื่องที่เห็นพูดว่าไม่เห็น ๒. เรื่องที่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน ๓. เรื่องที่รู้พูดว่าไม่รู้ ๔. เรื่องที่รู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๑๐) ทุจริต ๔ เป็นไฉน ทุจริต ๔ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๑) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกนิทเทส

ภัย ๔ เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ) ๒. ชราภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา) ๓. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยพยาธิ) ๔. มรณภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยความตาย) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๓) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. ราชภัย (ภัยเกิดแต่พระราชา) ๒. โจรภัย (ภัยเกิดแต่โจร) ๓. อัคคิภัย (ภัยเกิดแต่ไฟ) ๔. อุทกภัย (ภัยเกิดแต่น้ำท่วม) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๔) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. อูมิภัย (ภัยเกิดแต่คลื่น) ๒. กุมภีลภัย (ภัยเกิดแต่จระเข้) ๓. อาวัฏฏภัย (ภัยเกิดแต่น้ำวน) ๔. สุสุกาภัย (ภัยเกิดแต่ปลาร้าย) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๕) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ภัย ๔ คือ ๑. อัตตานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการติเตียนตนเอง) ๒. ปรานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการถูกผู้อื่นติเตียน) ๓. ทัณฑภัย (ภัยเกิดจากการถูกลงอาชญา) ๔. ทุคคติภัย (ภัยเกิดจากทุคติ) เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำขึ้นเอง และสุขทุกข์คนอื่น ทำให้ ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์เป็นสิ่งที่ตนทำขึ้นเองและผู้อื่นทำให้ สุขทุกข์ไม่ใช่ตนเองและผู้อื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๔ (๑๗)
จตุกกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๘๘-๕๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=35&A=16640&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12793&Z=12910&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=961              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=961&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=961&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]