ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๒. อิทธิกถา

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน- สมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญ- จายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละวิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วย อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสารีบุตรมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสัญชีวะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระขาณุโกณฑัญญะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ อุตตราอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไป ด้วยสมาธิ สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ (๕) [๑๗] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความ หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความ หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงเว้น สิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมไปโดยความไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๒. อิทธิกถา ทสอิทธินิทเทส

ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุในสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในสิ่งที่ น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในศาสนานี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ- สัมปชัญญะ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ (๖) [๑๘] ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม เป็นอย่างไร คือ นกทุกชนิด เทวดาทุกจำพวก มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก มีฤทธิ์เกิดจากผลกรรม นี้ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม (๗) ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ เป็นอย่างไร คือ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา๑- ตลอดจน พวกคนเลี้ยงม้าเป็นที่สุด ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของชฏิลคหบดีผู้มีบุญ @เชิงอรรถ : @ จตุรงคินีเสนา หมายถึงกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า @(ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค]

๓. อภิสมยกถา

ฤทธิ์ของเมณฑกคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโฆสิตคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ มาก ๕ คน๑- เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ (๘) ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา เป็นอย่างไร คือ พวกวิทยาธรร่ายวิชชาแล้วเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ใน กลางอากาศ นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา (๙) ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัย เป็นอย่างไร คือ สภาวะที่ละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัย สภาวะแห่งการละพยาบาทย่อมสำเร็จได้ด้วยอพยาบาท ฯลฯ สภาวะที่ละ ถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ สภาวะที่ละกิเลสทั้งปวงย่อม สำเร็จได้ด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วย การประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัยอย่างนี้ (๑๐) ฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้
ทสอินทธินิทเทส จบ
อิทธิกถา จบ
๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้
[๑๙] คำว่า การตรัสรู้ อธิบายว่า ตรัสรู้ด้วยอะไร คือ ตรัสรู้ด้วยจิต ตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มี ญาณตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ด้วยญาณ @เชิงอรรถ : @ ผู้มีบุญมาก ๕ คน ได้แก่ (๑) เมณฑกเศรษฐี (๒) จันทปทุมาภริยาของเมณฑกเศรษฐี (๓) ธนัญชัยเศรษฐี- @บุตร (๔) สุมนาเทวีลูกสะใภ้ (๕) นายปุณณทาส (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๕๐-๓๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๗๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๗๐-๕๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=16701&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=81              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=10090&Z=10320&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=679              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=679&items=16              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=679&items=16              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]