ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้๑- รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง แม้ด้วยประการฉะนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์ นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึง ที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็ เป็นแต่ผู้บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง จะ พึงหลุดพ้นได้ ด้วยประการฉะนี้”๒- รวมความว่า เราไม่สามารถปลดเปลื้อง อย่างนี้บ้าง คำว่า โธตกะ ... ใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ อธิบายว่า บุคคลผู้มี ความสงสัย คือ มีความแคลงใจ มีความระแวง มีความเห็นสองจิตสองใจ มี ความข้องใจ คำว่า ใครๆ ได้แก่ ใครๆ คือ เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๓- รวมความว่า โธตกะ ... ใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ คำว่า แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัส เรียกว่า ธรรมอันประเสริฐ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้ง อุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๕/๔๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘/๔๑ @ ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘ @ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า อันประเสริฐ ได้แก่ ธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม คำว่า เมื่อรู้ ได้แก่ เมื่อรู้ คือ เมื่อรู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด รวมความว่า แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ คำว่า เธอ ... ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้ อธิบายว่า เธอก็พึงข้าม คือ ก้าวล่วง ล่วงเลยกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะได้ ด้วยประการฉะนี้ รวมความว่า เธอ ... ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โธตกะ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ ก็จะพึงข้ามโอฆะนี้ได้เองด้วยประการฉะนี้ [๓๔] (ท่านโธตกะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอนวิเวกธรรม ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ (๕) คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ ... ตรัสสอน ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอน อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดตรัสสอน คือ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรงอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์โปรดทรง เอื้อเฟื้อ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ ... ตรัสสอน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ทรงพระกรุณา ได้แก่ ทรงพระกรุณา คือ ทรงเอ็นดู รักษา อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอน คำว่า วิเวกธรรม ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัส เรียกว่า วิเวกธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท คำว่า ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้เฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า วิเวกธรรม ที่ ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ คำว่า และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อธิบายว่า อากาศไม่ขัดข้อง คือ จับต้องไม่ได้ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันใด ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง คือ ไม่ยึดถือ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง อากาศย้อมไม่ได้ด้วยน้ำครั่ง น้ำขมิ้น สีเขียว หรือสีน้ำฝาด ฉันใด ข้าพระองค์ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เศร้าหมอง ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้อง เหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง อากาศไม่กำเริบ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง ฉันใด ข้าพระ- องค์ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบ ไม่กระทั่ง ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง คำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล ในคำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบ อยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า เป็นผู้อยู่ในที่นี้แล คือ เป็นผู้นั่งอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะนี้แล เป็นผู้นั่งอยู่ในบริษัทนี้แล รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง สงบได้แล้ว คือ เข้าไปสงบได้แล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว สงบระงับได้แล้ว ในที่นี้แล รวมความว่า สงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง คำว่า เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย อธิบายว่า การอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) การ อาศัยด้วยอำนาจตัณหา (๒) การอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

ผู้ใดละการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ อาศัยตา ไม่อาศัยหู ไม่อาศัยจมูก ไม่อาศัยลิ้น ไม่อาศัยกาย ไม่อาศัยใจ ไม่ยึดอาศัย คือ ไม่อาศัย ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดใจ ในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ ตระกูล ฯลฯ คณะ ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ ฯลฯ รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑- ฯลฯ จตุโวการภพ๒- ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓- ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอนวิเวกธรรม ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ @เชิงอรรถ : @ เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๑ หรือภพที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ อสัญญาภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒) @ จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ ๔ หรือภพที่มีขันธ์ ๔ ได้แก่ อรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒) @ ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ หรือภพที่มีขันธ์ ๕ ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย @เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

[๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ) บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ (๖) คำว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ อธิบายว่า เราจักกล่าว คือ ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ ความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบระงับราคะ ความสงบโทสะ ความสงบโมหะ ฯลฯ เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ ระงับโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ ระงับกิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ ความเร่าร้อนทุกสถาน ฯลฯ ความเดือดร้อนทุกประการ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท รวมความว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ คำว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในคำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่ เราเห็นแล้ว อธิบายว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คือ ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่ เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ใน ธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้ว ได้แก่ ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ใน ธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรม ที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เรา พิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็น ธรรมดา” รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัย ใน สมุทัยที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรค ในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธใน นิโรธที่ได้เห็นแล้ว รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ๆ คือ มิใช่โดย การเล่าลือ มิใช่โดยการถือสืบๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ ทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว คำว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้ กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ทุกขณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัส เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ๑- คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป๒- ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๓- คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า บุคคลผู้มีสติ พึง ข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ ภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ) บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ [๓๖] (ท่านโธตกะทูลถามว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ (๗) คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่ง หวังพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหา คุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าผู้ ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่๑- คำว่า ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ความสงบ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท คำว่า สูงสุด ได้แก่ เลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด คำว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา” คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๓/๑๓๓-๑๓๕ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ที่ชื่อว่า วิสัตติกาในโลกนี้ บุคคลผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วง เลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ [๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ) เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย (๘) คำว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้เฉพาะ แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ
ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก ว่า ชั้นกลาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส เรียกว่า ชั้นกลาง สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข- เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง คำว่า เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อธิบายว่า เธอรู้แล้ว คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า นี้เป็น เครื่องข้อง นี้เป็นเครื่องติดพัน นี้เป็นเครื่องผูกพัน นี้เป็นเครื่องพัวพัน รวมความว่า เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว คำว่า ตัณหา ในคำว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย อธิบายว่า อย่าก่อ คือ อย่าให้เกิด อย่า ให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏ เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อภพต่อไป เพื่อคติต่อไป เพื่อการถือกำเนิดต่อไป เพื่อปฏิสนธิต่อไป เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่ง อัตภาพต่อไป รวมความว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ) เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โธตกมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โธตกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๗๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๖๖-๑๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=4834&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=2020&Z=2388&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=203              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=203&items=39              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=203&items=39              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]