ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่าทรงละตัณหาได้ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นเอกบุรุษ ไม่ทรงมีเพื่อนสอง อย่างนี้ ไม่ทรงประมาท ทรงมีความเพียร ตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวอยู่ ทรงตั้งความเพียร ครั้งใหญ่ ณ โคนต้นโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาผู้ ชั่วร้าย ซึ่งกีดกันมหาชนไม่ให้หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไปเกาะเกี่ยวอารมณ์ (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น มีสติสัมปชัญญะอยู่๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มีพระภาคทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละราคะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโทสะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ ทรงปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละโมหะได้แล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็น เอกบุรุษ ทรงปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นผู้ละเหล่ากิเลสได้แล้ว จึงชื่อว่าทรง เป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๙/๑๕, ๒๕๗/๓๗๔, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๕/๓๒๔, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๗-๕๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น อย่างไร คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตรัสเรียกว่า ทางสายเอก (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า) พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเห็นธรรมอันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ทรงรู้จักมรรคอันเป็นทางสายเอก ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยมรรคนี้๑- พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว จึง ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็นอย่างไร คือ ญาณในมรรคทั้ง ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจย- สัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า โพธิ ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ ตรัสรู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดก็ตามที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้ตามลำดับ ควรตรัสรู้ เฉพาะ ควรตรัสรู้ด้วยดี ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้ง พระผู้มีพระภาคก็ ตรัสรู้ ตรัสรู้ตามลำดับ ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้ด้วยดี ตรัสรู้โดยชอบ ทรงบรรลุ ทรง ถูกต้อง ทรงกระทำให้แจ้งธรรมชาตินั้นทั้งหมด ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ลำพังพระองค์เดียว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เป็น อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๓๘๔/๑๔๖, ๔๐๙/๑๖๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ทำลายความมืด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำลาย คือ ลด ละ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ รวมความว่า ประทับนั่งอยู่ พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้ นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งอยู่ที่ข้างภูเขา พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงสงัดจากความ ขวนขวายทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรม แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก๑- พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลาย ความมืดอยู่ คำว่า ทรงรุ่งเรือง ในคำว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี อธิบายว่า รุ่งเรือง คือ ทรงมีความรู้ ทรงเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส คำว่า ทรงแผ่รัศมี ได้แก่ ทรงแผ่รัศมี คือ ทรงแผ่แสงสว่าง แผ่โอภาส แผ่ แสงสว่างดุจประทีป แผ่แสงสว่างดุจโคมไฟ แผ่แสงสว่างรุ่งโรจน์ แผ่แสงโชติช่วง รวมความว่า พระโคดมนั้น ... ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญา @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๒๘/๑๔๙-๑๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

เป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วยปัญญา เพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งรัฐ ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏของหญิง๑- พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มีพระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วย ความตรวจสอบ มากด้วยปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วย ธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอน ไปในปัญญานั้น โอนไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อไปในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๒- พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้มีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจ ภูริ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๗๒/๔๗, ขุ.ชา. ๒๘/๑๘๔๑/๓๒๖ @ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

พระโคดมทรงเป็นเอกบุรุษ ประทับนั่งทำลายความมืดอยู่ ทรงรุ่งเรือง ทรงแผ่รัศมี พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมมีพระปัญญาดุจภูริ [๑๐๘] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ (๗) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ...แก่อาตมภาพ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก ทรงแสดง คือ บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มี- พระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่อาตมภาพ คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ได้ รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใดเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้นใน กาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่าไม่ขึ้นกับ กาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ เป็นที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมเป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้ง อันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มี อันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีสิ่งไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

[๑๐๙] (พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า) ท่านปิงคิยะ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ (๘) คำว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก คือ ออกไป หลีกไป อยู่เว้น จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น รวมความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น คำว่า ปิงคิยะ ... สิ้นกาลชั่วครู่ อธิบายว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คือ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วระยะหนึ่ง ชั่ววัยหนึ่ง ชั่วช่วงหนึ่ง รวมความว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คำว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่พราหมณ์พาวรีเรียกพราหมณ์ผู้เป็นหลานโดยชื่อ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจ ภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มี พระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วย ปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญากว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่ามีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญา ดุจภูริ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้นจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ท่านปิงคิยะ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ [๑๑๐] (พราหมณ์พาวรีกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่ท่าน (๙) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม... แก่ท่าน อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูใน สัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก คือ ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่ท่าน คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ ได้รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใดเจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้น ย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่า ไม่ขึ้น กับกาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ เป็นที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมที่เป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใด ไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ ...เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีอะไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หา ไม่ได้เลย คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใด ไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์พาวรีนั้นจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่ท่าน [๑๑๑] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ท่านพราหมณ์ อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก คือ มิได้ออกไป มิได้หลีกไป มิได้อยู่เว้นจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น รวมความว่า อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น คำว่า ท่านพราหมณ์... สิ้นกาลชั่วครู่ อธิบายว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คือ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วระยะหนึ่ง ชั่ววัยหนึ่ง ชั่วช่วงหนึ่ง รวมความว่า สิ้นกาลชั่วครู่ คำว่า ท่านพราหมณ์ เป็นคำที่พระปิงคิยเถระเรียกพราหมณ์พาวรีผู้เป็นลุง โดยเคารพ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจ ภูริ คือ มีพระญาณปรากฏ มีพระปัญญาเป็นธงชัย มีพระปัญญาเป็นยอดธง มี พระปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยความตรวจสอบ มากด้วย ปัญญาเพ่งพินิจ มีธรรมเป็นเครื่องพิจารณา อยู่ด้วยธรรมแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วย ปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปใน ปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจเชื่อในปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ คำว่า พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ อธิบายว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญากว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่ามีพระปัญญาดุจภูริ รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญา ดุจภูริ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ อาตมภาพมิได้อยู่ปราศจาก พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระโคดมผู้มีพระญาณดุจภูริ พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ สิ้นกาลชั่วครู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

[๑๑๒] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ (๑๑) คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดง ธรรม...แก่อาตมภาพ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็นพระ สัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย คำว่า ธรรม ในคำว่า ทรงแสดงธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคตรัสบอก คือ ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม ... แก่อาตมภาพ คำว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เชิญมาดูได้ ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ได้ด้วยตน รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้นย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรคนั้น ในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น รวมความว่า ที่บุคคล เห็นได้เอง อย่างนี้บ้าง คำว่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายลงทุนตามเวลา ยังไม่ ได้รับผลในกาลทุกครั้ง ยังต้องรอเวลาฉันใด ธรรมนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้ใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ผู้นั้น ย่อมบรรลุ ประสบ ได้รับผลแห่งมรรค นั้นในกาลทุกครั้ง ไม่มีลำดับอื่นคั่น มิใช่ในภพหน้า มิใช่ในปรโลก จึงชื่อว่าไม่ ขึ้นกับกาลเวลา อย่างนี้ รวมความว่า ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ- ตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ได้แก่ เป็นที่สิ้นตัณหา คือ สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นอุปบัติ สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร สิ้นวัฏฏะ คำว่า ไม่มีอันตราย อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า อันตราย อธิบายว่า (ธรรมที่เป็นเครื่อง) ละอันตราย เข้าไปสงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย คืออมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตราย คำว่า ใด ในคำว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีสิ่งไรๆ เปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้ง ภายในและภายนอก รวมความว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดทรงแสดงธรรม ที่บุคคลเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีอันตรายแก่อาตมภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

[๑๑๓] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ท่านพราหมณ์ อาตมภาพไม่ประมาท ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า พระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๑๒) คำว่า อาตมภาพ...ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือน เห็นด้วยตา อธิบายว่า อาตมภาพย่อมเห็น คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา เห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหมือนคนตาดี พึงมองเห็น คือ แลเห็น มองดู พิจารณาเห็นรูปทั้งหลายในที่แจ้ง ฉะนั้น รวมความว่า อาตมภาพ...ย่อมเห็น พระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา คำว่า ท่านพราหมณ์ ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน อธิบายว่า อาตมภาพเจริญพุทธานุสสติด้วยใจทั้งกลางคืนและกลางวัน ชื่อว่าไม่ประมาท รวม ความว่า ท่านพราหมณ์ ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน คำว่า นอบน้อมอยู่ ในคำว่า นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี อธิบายว่า อาตมภาพ นอบน้อมอยู่ คือ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ ด้วยกาย วาจา ใจ ปฏิบัติเอื้อ ประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ได้แก่ ให้คืนและวันผ่านไป ให้ล่วง ไป(ด้วยการปฏิบัติ) รวมความว่า นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี คำว่า อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อธิบายว่า อาตมภาพเมื่อเจริญด้วยพุทธานุสสตินั้น ย่อมเข้าใจพระพุทธเจ้าพระองค์ นั้นว่า มิได้อยู่ปราศจาก ย่อมเข้าใจ คือ รู้ ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทง ตลอดอย่างนี้ว่า มิได้อยู่ปราศจากแล้ว รวมความว่า อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ท่านพราหมณ์ อาตมภาพไม่ประมาท ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า พระองค์นั้นด้วยใจ เหมือนเห็นด้วยตา อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น [๑๑๔] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล (๑๓) คำว่า สัทธา ในคำว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ อธิบายว่า สัทธา ความเชื่อ ความกำหนด ความเลื่อมใส สัทธา คือ สัทธินทรีย์ สัทธาพละ ปรารภ พระผู้มีพระภาค คำว่า ปีติ ได้แก่ ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความชื่นใจ ความบันเทิง ความเบิกบาน ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความมีใจสูง ความมีใจแช่มชื่น ความที่ใจเลื่อมใสยิ่ง คำว่า มนะ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- อันเกิดจากวิญญาณขันธ์นั้นปรารภ พระผู้มีพระภาค คำว่า สติ ได้แก่ สติ ความระลึกถึง สัมมาสติปรารภพระผู้มีพระภาค รวม ความว่า สัทธา ปีติ มนะ และสติ คำว่า ธรรมเหล่านี้ ... ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่หายไป คือ ไม่ไป ไม่ละไป ไม่สูญหายไป จากศาสนา @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ของพระโคดม คือ จากศาสนาของพระพุทธเจ้า จากศาสนาของพระชินเจ้า จาก ศาสนาของพระตถาคต จากศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า ธรรมเหล่านี้ ... ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม คำว่า สู่ทิศใดๆ ในคำว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อธิบายว่า เสด็จไป ดำเนินไป มุ่งไป มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือทิศเหนือก็ตาม คำว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ อธิบายว่า ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ คือ มีพระ ปัญญามาก มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส แผ่นดิน เรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญานั้นกว้างขวาง แผ่ไปเสมอด้วย แผ่นดินนั้น รวมความว่า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ คำว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล อธิบายว่า พระพุทธ- เจ้าประทับอยู่ ณ ทิศใด อาตมภาพก็น้อมไปทางทิศนั้น เอนไป โอนไป โน้มไป น้อมใจไปในทิศนั้น มีทิศนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทาง ทิศนั้นๆ นั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธา ปีติ มนะ และสติ ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ เสด็จไปสู่ทิศใดๆ อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้นๆ นั่นแล [๑๑๕] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น (๑๔) คำว่า ชราแล้ว ในคำว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ ชราแล้ว คือ เป็นผู้เฒ่า สูงอายุ ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก รวมความว่า ชราแล้ว คำว่า มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย ได้แก่ เป็นผู้เฒ่า คือ มีเรี่ยวแรงน้อยลง มีเรี่ยวแรงนิดเดียว รวมความว่า อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย คำว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ อธิบายว่า ร่างกายไปไม่ได้ คือ มิได้ถึง มิได้เดินทางไป มิได้ก้าวไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ รวมความว่า ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ คำว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ อธิบายว่า อาตมภาพไปเฝ้า คือ ถึง เดินทางไป ก้าวไปโดยการไปด้วยความดำริ คือ โดยการไปด้วยความตรึก ด้วยญาณ ด้วยปัญญา ด้วยความรู้ รวมความว่า แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ คำว่า ใจ ในคำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่ กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดจาก วิญญาณขันธ์นั้น คำว่า ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่ พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น อธิบายว่า ใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยว คือ เกี่ยวเนื่อง ผูกพันกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้ว รวมความว่า ท่านพราหมณ์ เพราะ ว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

อาตมภาพชราแล้ว มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย เพราะเหตุนั้นแล ร่างกายจึงไปในสถานที่ ที่พุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้ แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ โดยการไปด้วยความดำริ ท่านพราหมณ์ เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น [๑๑๖] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า) อาตมภาพนอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ (๑๕) คำว่า นอน ... ในเปือกตม ในคำว่า นอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม อธิบายว่า นอน คือ นอนลง อยู่ อยู่อาศัย อยู่ประจำในเปือกตมคือกาม คือ โคลนตมคือกาม กิเลสคือกาม เบ็ดคือกาม ความเร่าร้อนคือกาม ความกังวลคือกาม รวมความว่า นอน ... ในเปือกตม คำว่า ดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า ดิ้นรน ดิ้นรนอยู่ สั่นเทา กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา เพราะทิฏฐิ เพราะกิเลส เพราะการประกอบ เพราะ วิบาก เพราะมโนทุจริต คือ ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ผู้ลังเลก็ดิ้นรนตามอำนาจวิจิกิจฉา ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดิ้นรนตามอำนาจอนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะเสื่อมยศ เพราะนินทา เพราะสรรเสริญ เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะพยาธิ เพราะมรณะ เพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส ดิ้นรนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิด เดรัจฉาน เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน โลกมนุษย์ เพราะทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการอยู่ ในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ เพราะทุกข์สืบเนื่องมาจากผู้เกิด เพราะทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของ ตนเอง เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น เพราะทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากสังขาร เพราะทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางตา เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางหู เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากโรคทางจมูก เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางลิ้น เพราะทุกข์ที่เกิดจาก โรคทางกาย เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรคดีซ่าน... โรคดีกำเริบ ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู .... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน อิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง.... ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ...ทุกข์เพราะบิดาตาย ... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ... ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ... ทุกข์เพราะบุตรตาย ... ทุกข์เพราะธิดาตาย ... ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ ... ทุกข์เพราะโภคทรัพย์พินาศ... ทุกข์เพราะความ เสียหายที่เกิดจากโรค ... ทุกข์เพราะสีลวิบัติ... ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ... รวมความว่า นอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม คำว่า ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง อธิบายว่า ลอย ลอยไป คือ ล่องลอย ไปจากศาสดา(แรก)ไปหาอีกศาสดา(ต่อมา) จากธรรมที่ศาสดา(แรก)บอก สู่ธรรมที่ ศาสดา(ต่อมา)บอก จากหมู่คณะ(แรก) สู่คณะ(ต่อมา) จากทิฏฐิ(แรก)สู่ทิฏฐิ(ต่อมา) จากปฏิปทา(แรก)สู่ปฏิปทา(ต่อมา) จากมรรค(แรก) สู่มรรค(ต่อมา) รวมความว่า ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง คำว่า ครั้นต่อมา ในคำว่า ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ครั้นต่อมา นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน๑- คำว่า ได้เฝ้า ได้แก่ ได้เฝ้า คือ ได้แลเห็น ได้เห็น ได้แทงตลอด คำว่า พระสัมพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มี ครูอาจารย์ ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒- รวมความว่า ครั้นต่อมา อาตมภาพ ได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า คำว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ในคำว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ข้ามทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระองค์ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงข้ามโอฆะ ได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑/๔๔ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า อาสวะ ๔ อย่าง คือ ๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ ๓. ทิฏฐาสวะ ๔. อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ รวมความว่า ผู้ทรงข้าม โอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า อาตมภาพนอนดิ้นรนอยู่ในเปือกตม ลอยจากเกาะหนึ่งไปสู่เกาะหนึ่ง ครั้นต่อมา อาตมภาพได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ [๑๑๗] (พระผู้มีพระภาคเสด็จมาตรัสว่า) วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช (๑๖) คำว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด อธิบายว่า พระวักกลิเถระ ได้มีศรัทธาน้อมไปแล้ว คือ หนักในศรัทธา มีศรัทธานำหน้า น้อมใจไปตามศรัทธา มีศรัทธาเป็นใหญ่ยิ่ง บรรลุอรหัตตผลแล้ว ฉันใด พระภัทราวุธเถระ มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว... พระอาฬวิโคดม มีศรัทธา อันน้อมไปแล้ว หนักในศรัทธา มีศรัทธานำหน้า น้อมใจไปตามศรัทธา มีศรัทธา เป็นใหญ่ บรรลุอรหัตตผล ฉันใด รวมความว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาอันน้อมไปแล้ว ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า เธอก็จงเผย เปิดเผย คือ แสดงออก น้อมใจ กำหนดศรัทธา เผย เปิดเผย แสดงออก น้อมใจ กำหนดศรัทธาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า แม้เธอก็ จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า บ่วงมัจจุราช อมตนิพพาน ธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า ฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช คำว่า ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น (ฝั่งตรงข้าม) แห่งบ่วงมัจจุราช อธิบายว่า เธอจักถึงฝั่ง คือ จักบรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่ง รวมความว่า ปิงคิยะ เธอจัก ถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า วักกลิ ภัทราวุธ และอาฬวิโคดม เป็นผู้มีศรัทธาน้อมไปแล้ว ฉันใด แม้เธอก็จงเปิดเผยศรัทธา ฉันนั้นเหมือนกัน ปิงคิยะ เธอจักถึงฝั่งโน้น(ฝั่งตรงข้าม)แห่งบ่วงมัจจุราช [๑๑๘] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ (๑๗) คำว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง อธิบายว่า ข้าพระองค์นี้เลื่อมใส อย่างยิ่ง คือ เชื่อถือยิ่งๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่งๆ ขึ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

เลื่อมใสอย่างยิ่ง เชื่อถืออย่างยิ่งๆ ขึ้นไป กำหนดได้โดยยิ่งขึ้นไป น้อมใจเชื่อโดยยิ่งๆ ขึ้นไปว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ข้าพระองค์นี้ ... เลื่อมใสอย่างยิ่ง คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า คำว่า พระมุนี ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี คำว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว อธิบายว่า ได้ฟัง คือ ได้สดับ ได้เรียน ได้ทรงจำ ได้เข้าไปกำหนดพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว คำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว อธิบายว่า คำว่า เครื่องปิดบัง ได้แก่ เครื่องปิดบัง ๕ อย่าง คือ ๑. เครื่องปิดบังคือตัณหา ๒. เครื่องปิดบังคือทิฏฐิ ๓. เครื่องปิดบังคือกิเลส ๔. เครื่องปิดบังคือทุจริต ๕. เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเปิดแล้ว คือ ทรงรื้อออก เพิกถอน ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงมีเครื่องปิดบัง อันเปิดแล้ว คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้านี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง ทรงมีเครื่อง ปิดบังอันเปิดแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ในคำว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมี ปฏิภาณ อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โทสะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู ตรึงจิต โมหะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต โกธะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต อุปนาหะ ชื่อว่ากิเลสดุจตะปูตรึงจิต ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่ากิเลสดุจตะปู ตรึงจิต กิเลสดุจตะปูตรึงจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต
ว่าด้วยบุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
คำว่า ทรงมีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณมี ๓ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในเรื่องความหมาย ในเรื่องที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ(ความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้) ญาณของ เขาย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการไต่สวน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ (ภาษา) เมื่อรู้เหตุ เหตุย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลย่อมแจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติย่อม แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ชื่อว่าทรงมีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจัก แจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้ว เลื่อมใสอย่างยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีเครื่องปิดบังอันเปิดแล้ว ไม่มีกิเลสดุจตะปูตรึงจิต ทรงมีปฏิภาณ [๑๑๙] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดอธิเทพ ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ (๑๘)
ว่าด้วยเทพ ๓
คำว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ อธิบายว่า คำว่า เทพ ได้แก่ เทพ ๓ จำพวก คือ ๑. สมมติเทพ ๒. อุบัติเทพ ๓. วิสุทธิเทพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

สมมติเทพ เป็นอย่างไร คือ พระราชา พระราชกุมาร และพระราชเทวี เหล่านี้เรียกว่า สมมติเทพ อุบัติเทพ เป็นอย่างไร คือ เทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่ พรหม และเทวดาชั้นสูงกว่านั้น เหล่านี้เรียกว่า อุบัติเทพ วิสุทธิเทพ เป็นอย่างไร คือ พระตถาคต สาวกของพระตถาคต พระอรหันตขีณาสพ และพระปัจเจก- สัมพุทธเจ้า เหล่านี้เรียกว่า วิสุทธิเทพ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ชัดเหล่าสมมติเทพว่า เป็นอธิเทพ ทรงรู้จักเหล่าอุบัติเทพ ว่าเป็นอธิเทพ ทรงรู้ชัด คือ ทรงทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งเหล่าวิสุทธิเทพว่า เป็นอธิเทพ รวมความว่า ทรงรู้ชัดอธิเทพ คำว่า ทรงรู้ชัดธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอดธรรมที่ทำพระองค์ และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การ ปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้ บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ เรียกว่า ธรรมที่ทำพระองค์ให้เป็นอธิเทพ ธรรมที่ทำชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างไร คือ การปฏิบัติชอบ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำชน เหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ คือ ทรงทราบ ทรงถูกต้อง แทงตลอด ธรรมที่ทำพระองค์และชนเหล่าอื่นให้เป็นอธิเทพ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ทรงรู้ชัด ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงกระทำส่วนสุด คือ ทรงกระทำที่สุดรอบ ทรงกระทำที่กำหนด ทรงกระทำความจบแห่งปัญหาของพราหมณ์ ผู้แสวงหาฝั่ง... ได้แก่ ทรงกระทำ ส่วนสุด กระทำที่สุดรอบ กระทำที่กำหนด กระทำความจบแห่งปัญหาของสภิย- พราหมณ์... แห่งปัญหาของพระปิงคิยเถระ... แห่งปัญหาของท้าวสักกะ... แห่งปัญหา ของท้าวสุยาม... แห่งปัญหาของภิกษุ... แห่งปัญหาของภิกษุณี ... แห่งปัญหาของ อุบาสก ... แห่งปัญหาของอุบาสิกา ... แห่งปัญหาของพระราชา ... แห่งปัญหา ของกษัตริย์ ... แห่งปัญหาของพราหมณ์ ... แห่งปัญหาของแพศย์ ... แห่งปัญหา ของศูทร ... แห่งปัญหาของเทวดา ... แห่งปัญหาของพระพรหม คำว่า เป็นพระศาสดา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่ ชื่อว่า พระศาสดา เหมือนบุคคลผู้นำหมู่เกวียน ย่อมนำหมู่เกวียนข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะโจร ที่กันดารเพราะสัตว์ร้าย ที่กันดาร เพราะอดอยาก ที่กันดารเพราะขาดน้ำ ได้แก่ ให้ถึงถิ่นที่ปลอดภัย ฉันใด พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่ ย่อมทรงนำหมู่ข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะความเกิด ความแก่ ความเจ็บป่วย ความตาย ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ที่กันดารเพราะความกำหนัด ที่กันดารเพราะความขัดเคือง ความลุ่มหลง ความ ถือตัว ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต คือ ความรกชัฏเพราะความกำหนัด ความรกชัฏเพราะ ความขัดเคือง ความรกชัฏเพราะความลุ่มหลง ความรกชัฏเพราะทิฏฐิ ความรกชัฏ เพราะกิเลส ความรกชัฏเพราะทุจริต ได้แก่ ให้ถึงอมตนิพพานอันเป็นแดนเกษม ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงชื่อว่าผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตาม แนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ให้เพ่งประโยชน์ ทรงทำให้ เลื่อมใสได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค พระศาสดาจึงชื่อว่าผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรค ที่ยังไม่เกิดให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

มรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระองค์ผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่า ผู้ทรงนำหมู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหา ทั้งหลาย คำว่า เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ อธิบายว่า เหล่าชนผู้มี ความสงสัยมาแล้ว ก็หายสงสัยกลับไป ผู้มีความยุ่งยากมาแล้ว ก็หายยุ่งยากกลับไป ผู้มีความคิดสองจิตสองใจมาแล้ว ก็หายความคิดสองจิตสองใจกลับไป ผู้มีความลังเล มาแล้ว ก็หายความลังเลกลับไป ผู้มีราคะมาแล้ว ก็หมดราคะกลับไป ผู้มีโทสะ มาแล้ว ก็หมดโทสะกลับไป ผู้มีโมหะมาแล้ว ก็หมดโมหะกลับไป ผู้มีกิเลสมาแล้ว ก็หมดกิเลสกลับไป รวมความว่า เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ ด้วย เหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้ชัดอธิเทพ ทรงรู้ธรรมของพระองค์และของคนอื่นทั้งปวง เป็นพระศาสดาผู้กระทำส่วนสุดแห่งปัญหาทั้งหลาย เพื่อเหล่าชนผู้มีความสงสัย ให้กลับรู้ได้ [๑๒๐] (พระปิงคิยเถระกราบทูลว่า) สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล (๑๙) คำว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ อธิบายว่า อมตนิพพาน เรียกว่า ธรรมเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท สภาวะนั้นอันอะไรนำ ไปมิได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ อธิบายว่า นิพพาน อันราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความ เร่าร้อนทุกอย่าง อาสวะทุกชนิด ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเดือดร้อน ทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท นำไปไม่ได้ คือ เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีการไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา รวมความว่า สภาวะนั้นอันอะไร นำไปมิได้ คำว่า ไม่กำเริบ อธิบายว่า อมตนิพพาน ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เรียกว่า (สภาวะ) ไม่กำเริบ ความเกิดขึ้นแห่งนิพพาน ไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่มี ความเป็นอย่างอื่นของ นิพพานนั้น ก็ไม่ปรากฏ นิพพานจึงเป็นสภาวะเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา รวมความว่า สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ คำว่า ใด ในคำว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ ได้แก่ นิพพาน คำว่า ไม่มีอะไรๆ... เปรียบได้ ได้แก่ ไม่มีอะไรเปรียบได้ คือ ไม่มีข้อ เปรียบเทียบ ไม่มีสิ่งเสมอเหมือน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คำว่า ที่ไหน ได้แก่ ที่ไหน คือ ในที่ไหน ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือ ทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ คำว่า แน่แท้ ในคำว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยใน สภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า เป็นคำกล่าวนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่ สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าว โดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด โดยไม่พลาด คำว่า แน่แท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว คำว่า ข้าพระองค์จักถึง ได้แก่ จักถึง คือ จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง รวมความว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ในสภาวะนั้น ในคำว่า ความสงสัย ในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า ความสงสัย คือ ความลังเล ความสองจิตสองใจ ความแคลงใจใน นิพพานไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้า พระองค์ คำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ ... ด้วยประการฉะนี้แล ในคำว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้น แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ได้แก่ ขอพระองค์โปรดเข้าไปกำหนดข้าพระองค์ ด้วยประการฉะนี้ คำว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตเอนไปใน นิพพานแล้ว โอนไปในนิพพานแล้ว โน้มไปในนิพพานแล้ว น้อมใจไปในนิพพานแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะ นั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกราบทูลว่า สภาวะใดไม่มีอะไรๆ ที่ไหนเปรียบได้ สภาวะนั้นอันอะไรนำไปมิได้ ไม่กำเริบ ข้าพระองค์จักถึงสภาวะนั้นแน่แท้ ความสงสัยในสภาวะนั้นไม่มีแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นผู้มีจิตน้อมไปในสภาวะนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล
ปารายนานุคีติคาถานิทเทสที่ ๑๘ จบ
ปารายนวรรค จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๙๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๖๔-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=10519&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=5120&Z=6138&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=532              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=30&item=532&items=131              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=30&item=532&items=131              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]