ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้นาคะ๑- บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างนี้ บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่ถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ไม่ถึงโทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง) ไม่ถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ไม่ถึงภยาคติ(ลำเอียงเพราะกลัว) ไม่ดำเนินไป ด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจ อุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างนี้ บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างไร คือ กิเลสเหล่าใดอริยบุคคลละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นก็ ย่อมไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละ ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ... ด้วยอนาคามิมรรค ... ด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคล นั้นก็ย่อมไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างนี้ คำว่า บุคคลผู้นาคะ ... ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น อธิบายว่า บุคคลผู้ นาคะ ไม่พึงพูดจา คือ ไม่พึงพูด กล่าว แสดง ชี้แจง ยึด จับ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ ไม่พึงพูดจา คือ ไม่พึงพูด กล่าว แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า บุคคลผู้นาคะ ... ไม่พึงพูดจา ยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

คำว่า ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด อธิบายว่า น้ำ ตรัสเรียกว่า เอละ น้ำ ตรัสเรียกว่า อัมพุ ดอกบัว ตรัส เรียกว่า อัมพุชะ ก้านขรุขระ ตรัสเรียกว่ามีหนาม น้ำ ตรัสเรียกว่า วารี ดอกบัว เกิดในน้ำ ตรัสเรียกว่า วาริชะ น้ำ ตรัสเรียกว่า ชละ เปือกตมตรัสเรียกว่า โคลนตม ดอกบัวเกิดในน้ำ อยู่ในน้ำ (แต่) ไม่ติด ไม่ติดแน่น ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม คือ ไม่ถูกน้ำและโคลนตมติดแล้ว ติดแน่นแล้ว แปดเปื้อนแล้ว ฉันใด รวมความว่า ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อน ในกามและโลก ฉันนั้น เป็นคำอุปไมยที่ทำอุปมาให้สมบูรณ์ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี คำว่า ผู้กล่าวเรื่องความสงบ อธิบายว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ คือ กล่าวเรื่องที่ป้องกัน กล่าวเรื่องที่หลีกเร้น กล่าวเรื่องที่พึ่ง กล่าวเรื่องที่ไม่มีภัย กล่าวเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน กล่าวเรื่องอมตธรรม กล่าวเรื่องนิพพาน รวมความว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ... ฉันนั้น คำว่า ไม่ยินดี อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความยินดีนั้น มุนีใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ยินดี คือ ผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน คือผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความยินดีแล้ว ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความยินดีแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

ปล่อยความยินดีแล้ว ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว คือ เป็นผู้คลาย ความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็น แล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี อย่างนี้ คำว่า ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า แปดเปื้อน ได้แก่ ความแปดเปื้อน ๒ อย่าง คือ (๑) ความแปดเปื้อน ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความแปดเปื้อนด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความแปดเปื้อน ด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความแปดเปื้อนด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- มุนีละความแปดเปื้อนด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความแปดเปื้อนด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดแน่น ไม่แปดเปื้อนในกามและในโลก คือ เป็นผู้ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิติด ติดแน่น แปดเปื้อน ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง(ในกามและในโลก)แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า มุนีผู้ กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้นาคะสงัดจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

[๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย คำว่า ไม่ ในคำว่า มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัว ด้วยอารมณ์ที่รับรู้ เป็นคำปฏิเสธ คำว่า ผู้จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญาเครื่อง เห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ มุนีนั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับแห่งชาติ ชราและมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น อีกนัยหนึ่ง มุนีนั้น ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะถึงที่สุดแห่งเวททั้งหลายแล้ว อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลายแล้ว อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะรู้แจ้งธรรม ๗ ประการแล้ว คือ ๑. รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ ๒. รู้แจ้งวิจิกิจฉา ๓. รู้แจ้งสีลัพพตปรามาส ๔. รู้แจ้งราคะ ๕. รู้แจ้งโทสะ ๖. รู้แจ้งโมหะ ๗. รู้แจ้งมานะแล้ว มุนีนั้นเป็นผู้รู้แจ้งบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ) บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท๑- คำว่า ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ มุนีนั้น ละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือ ญาณแล้ว มุนีนั้น ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาหาทิฏฐินั้น โดยเห็นเป็นสาระอีก รวมความว่า มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ คำว่า มุนีนั้นย่อมไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปหา ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ความถือตัว ด้วย รูปที่รู้แล้ว ด้วยเสียงบอกเล่าของผู้อื่น หรือด้วยสมมติของมหาชน รวมความว่า มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ คำว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น อธิบายว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและ ทิฏฐินั้น คือ ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ มุนีนั้นละ ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด มุนีนั้น ก็ชื่อว่าไม่มีตัณหาและ ทิฏฐินั้น คือ ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า ด้วยเหตุนั้น รวมความว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น คำว่า ไม่ถูกกรรม ในคำว่า ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป อธิบายว่า มุนี ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรือ อาเนญชาภิสังขาร รวมความว่า ไม่ถูกกรรม @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๕/๔๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ถูก ... และสุตะนำไป อธิบายว่า มุนี ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูก พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยความหมดจดด้วยสุตะ ด้วยเสียงบอกเล่าของผู้อื่น หรือด้วย การสมมติของมหาชน รวมความว่า ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป คำว่า มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า การนำเข้าไป ได้แก่ การนำเข้าไป ๒ อย่าง คือ (๑) การนำเข้าไปด้วย อำนาจตัณหา (๒) การนำเข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการนำเข้าไปด้วยอำนาจ ตัณหา ... นี้ชื่อว่าการนำเข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- มุนีนั้นละการนำเข้าไปด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการนำเข้าไปด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการนำเข้าไปด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการนำ เข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว มุนีนั้น ชื่อว่าไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไป คือ ไม่เข้า ไปติด ไม่เข้าไปถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจเชื่อ ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องในที่อาศัยทั้งหลายแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า มุนีนั้น ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาคจึงตรัสว่า มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย [๘๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้น ย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

คำว่า มุนีเว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า ผู้ใดเจริญอริยมรรค ที่มีสมถะเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว ตั้งแต่ต้น เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งกิเลสเครื่อง ร้อยรัด โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาและทิฏฐิสัญญา ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่อง ร้อยรัด คำว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง อธิบายว่า ผู้ใด เจริญอริยมรรค ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มความลุ่มหลงได้ตั้งแต่ต้น เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งโมหะ กิเลสเครื่องร้อยรัด นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา ตัดรากถอน โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น ต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบ กระทั่งกันในโลก อธิบายว่า ชนเหล่าใด ถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาท- สัญญา วิหิงสาสัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วย อำนาจสัญญา กล่าวคือ พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับ กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดีวิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดา วิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับ บิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่สาว น้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น ก่อการทะเลาะ ก่อการ บาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง และก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายเพราะสัญญานั้น ก็ทำร้ายกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะทำร้ายกันนั้น ชนเหล่านั้นก็เข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง ชนเหล่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส

ถือทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง ... หรือ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่ เกิดอีกก็มิใช่” ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แก่กระทบกระทั่ง คือ ทำร้ายศาสดาโดยศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนโดย ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะโดยหมู่คณะ ทิฏฐิโดยทิฏฐิ ปฏิปทาโดยปฏิปทา มรรคโดยมรรค อีกนัยหนึ่ง ชนเหล่านั้น ย่อมวิวาทกัน คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันว่า “ท่านไม่รู้จักธรรมวินัยนี้ ... หรือ หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” ชนเหล่านั้น ยังละอภิสังขารไม่ได้ เพราะยังละ อภิสังขารไม่ได้ จึงกระทบกระทั่งกันในคติ กระทบกระทั่งกันในนรก กระทบกระทั่ง กันในกำเนิดเดรัจฉาน กระทบกระทั่งกันในเปตวิสัย กระทบกระทั่งกันในมนุษยโลก กระทบกระทั่งกันในเทวโลก กระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายคติด้วยคติ ... การถือ กำเนิดด้วยการถือกำเนิด ... ปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ... ภพด้วยภพ ... สงสารด้วยสงสาร ... วัฏฏะด้วยวัฏฏะ ได้แก่ เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป กระทบกระทั่งกัน คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยว กระทบกระทั่งกันในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก
มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๓๘-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=7105&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=4023&Z=4611&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=321              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=321&items=53              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=321&items=53              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]