ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ด้วยปัญญา อันกว้างขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา กว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ [๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยเหตุอะไรเล่า
ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า เสนามาร ราคะ ชื่อว่าเสนามาร โทสะ ชื่อว่าเสนามาร โมหะ ชื่อว่าเสนามาร โกธะ ... อุปนาหะ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มี- พระภาคตรัสไว้ว่า กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิดๆ เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้ แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑- เมื่อใด เสนามารทั้งหมดและกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกผู้มี ปัญญาพิชิต และทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น ผู้มีปัญญานั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา คือ เป็นผู้กำจัดเสนาในรูป ที่เห็น กำจัดเสนาในเสียงที่ได้ยิน กำจัดเสนาในอารมณ์ที่รับรู้ และกำจัดเสนาใน ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว รวมความว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า ผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย อธิบายว่า ผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็นธรรมหมดจด เห็นธรรมสะอาด เห็นธรรมบริสุทธิ์ เห็นธรรมผ่องแผ้ว เห็น ธรรมผ่องใส อีกนัยหนึ่ง ความเห็นหมดจด ความเห็นสะอาด ความเห็นบริสุทธิ์ ความเห็นผ่องแผ้ว ความเห็นผ่องใส คำว่า เปิดเผย อธิบายว่า เครื่องปิดบังคือตัณหา เครื่องปิดบังคือทิฏฐิ เครื่อง ปิดบังคือกิเลส เครื่องปิดบังคือทุจริต เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น ถูกเปิดเผยแล้ว คือ รื้อออกแล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกถอนแล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๙-๔๔๒/๔๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ประพฤติ ได้แก่ ผู้ประพฤติ คือ เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย คำว่า ใครๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ผู้มีปัญญานั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการกำหนด ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ใน พลังกิเลส” ผู้มีปัญญานั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ใครๆ จะพึงกำหนดคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิด เดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ใครๆ จะพึงกำหนด คือ กำหนดรู้ ถึงการกำหนดรู้ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก รวมความว่า ใครๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรได้เล่า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ใครๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยเหตุอะไรเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

[๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู สัตบุรุษเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว ไม่ก่อความหวังในที่ไหนๆ ในโลก
ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ
คำว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู อธิบายว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนด ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว สัตบุรุษ จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือการกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ย่อมไม่กำหนด คำว่า ไม่เชิดชู อธิบายว่า คำว่า เชิดชู ได้แก่ การเชิดชู ๒ อย่าง คือ (๑) การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา (๒) การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการ เชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว สัตบุรุษก็ไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็น ธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็น ยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ คือไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไปอยู่ รวม ความว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง อธิบายว่า สัตบุรุษ ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจง ความหมดจดสุดโต่ง คือ ความหมดจดโดยการเวียนว่าย ความเห็นว่าการกระทำไม่มีผล มีวาทะว่าเที่ยง รวมความว่า สัตบุรุษเหล่านั้นไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง คำว่า สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว อธิบายว่า คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท ๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส ๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ พยาบาท ความยึดมั่นศีล วัตรหรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น เพราะสัตว์ ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... คติ ... การถือกำเนิด ... ปฏิสนธิ ... ภพ เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น สังสารวัฏ ด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น คำว่า สลัด ได้แก่ สละ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด อีกนัยหนึ่ง สัตบุรุษแก้ หรือ สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือกิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว อธิบายว่า สัตบุรุษ สละ หรือสลัดกิเลส เครื่องร้อยรัด เหมือนคนทำการปลดปล่อยวอ รถ เกวียน หรือ รถมีเครื่องประดับ ให้เคลื่อนที่ไปได้ ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง สัตบุรุษ แก้ หรือสลัดกิเลสเครื่องรัอยรัด คือกิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว รวมความว่า สลัด กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว คำว่า ไม่ก่อความหวังในที่ไหนๆ ในโลก อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง คือ ความกำหนัด กำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- คำว่า ไม่ก่อความหวัง ได้แก่ ไม่ก่อ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความหวัง คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหนๆ ที่ไรๆ ภายใน ภายนอก หรือทั้งภายในและภายนอก คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า ไม่ก่อ ความหวังในที่ไหนๆ ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู สัตบุรุษเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว ไม่ก่อความหวังในที่ไหนๆ ในโลก [๓๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่นว่า ยอดเยี่ยมในโลกนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยพระอรหันต์
คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า คำว่า เขตแดน ได้แก่ เขตแดน ๔ อย่าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๑ ๒. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๒ ๓. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๓ ๔. รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๔ เพราะพระอรหันต์ เป็นผู้ก้าวล่วง คือ ก้าวพ้น ล่วงพ้น เขตแดนทั้ง ๔ เหล่านี้ ด้วยอริยมรรค ๔ พระอรหันต์นั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ ได้แล้ว คือ ๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว ๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑- คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า เพราะรู้ ได้แก่ เพราะรู้ด้วยปรจิตตญาณ(ญาณเป็นเครื่องรู้จิตของผู้อื่น) หรือ รู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ก่อน) คำว่า เพราะเห็น ได้แก่ เพราะเห็นด้วยมังสจักขุ หรือ เห็นด้วยทิพพจักขุ คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มี คือ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คือ ความถือมั่นนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์ เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี ความถือมั่น คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็น ที่คลายกำหนัด อธิบายว่า ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ ชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้กำหนัดใน กามคุณเป็นที่กำหนัด ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่ คลายกำหนัด อธิบายว่า เมื่อใด พระอรหันต์ละกามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่ พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น พระอรหันต์ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีความถือมั่นว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ พระอรหันต์นั้นไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความ ถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คำว่า ไม่มี ได้แก่ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความถือมั่นนั้น พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น ว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่นว่า ยอดเยี่ยมในโลกนี้
สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๔ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๑๕-๑๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=29&A=3449&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=1822&Z=2239&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=109              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=109&items=37              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=109&items=37              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]