ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๙. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยนางวิสาขา
[๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมาตามีประโยชน์บางอย่าง เกี่ยวข้องในพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงยังประโยชน์นั้นให้ สำเร็จตามความประสงค์ @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงว่าความรักที่ประกอบด้วยตัณหาสามารถทำความฉิบหายใหญ่หลวงแก่ @บุคคลผู้ประมาทได้ (ขุ.อุ.อ. ๑๘/๑๖๔) @ ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๙๙/๒๙๘, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๐๐/๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๙. วิสาขาสูตร

ครั้งนั้น ในเวลาเที่ยงวัน นางวิสาขา มิคารมาตาจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส กับนางวิสาขาดังนี้ว่า “วิสาขา เธอมาจากไหน แต่เที่ยงวัน” นางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีประโยชน์บางอย่างที่ เกี่ยวข้องในพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงยังประโยชน์นั้นให้ สำเร็จตามความประสงค์เลย พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ประโยชน์ทั้งปวงอยู่ในอำนาจผู้อื่น ก่อให้เกิดทุกข์ ความเป็นอิสระ๑- ทั้งปวง ก่อให้เกิดสุข สัตว์ทั้งหลายเมื่อยังมีประโยชน์ทั่วไปอยู่ ย่อมเดือดร้อน เพราะโยคะทั้งหลาย๒- เป็นสิ่งที่ก้าวล่วงได้ยาก
วิสาขาสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ความเป็นอิสระ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ความอิสระอันเป็นโลกิยะ ได้แก่ ความเป็นพระราชา เป็นต้น และ @ความมีจิตอิสระที่เกิดจากฌานและอภิญญา (๒) ความอิสระอันเป็นโลกุตตระ ได้แก่ ความอิสระที่เกิดจาก @นิโรธซึ่งมีเหตุมาจากการบรรลุมรรคและผล ในที่นี้หมายถึงความอิสระที่เกิดจากนิโรธ เป็นความอิสระที่ก่อ @ให้เกิดสุขอย่างแท้จริง เพราะไม่ต้องหวั่นไหวต่อโลกธรรม และเพราะมีสภาวะที่ไม่ต้องกลับเป็นทุกข์ได้อีก @(ขุ.อุ.อ. ๑๘/๑๖๖-๑๖๗) @ ดูเชิงอรรถที่ ๖ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=5302&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=54              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1977&Z=1995&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=63              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=63&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=63&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]