ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๖. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ

๓๕. ปฐมนฏปุพพกเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๗] ผู้ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ได้๑- ล่วงพ้นกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากโยคะ๒- ทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์
๓๖. ทุติยนฏปุพพกเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๘] ผู้ละทั้งความยินดี๓- และความไม่ยินดี๔- เป็นผู้เยือกเย็น หมดอุปธิกิเลส ครอบงำโลกทั้งหมด๕- เป็นผู้แกล้วกล้า เราเรียกว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @ กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ หมายถึงอายุและกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) @อันเป็นของมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๖ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้ @ ความยินดี หมายถึงความยินดีในกามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) @ ความไม่ยินดี หมายถึงความระอาในการอยู่ป่า (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) @ ครอบงำโลกทั้งหมด หมายถึงครอบงำโลกคือขันธ์ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๓๘. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ

๓๗. วังคีสเถรวัตถุ
เรื่องพระวังคีสเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๑๙] ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติ ของสัตว์ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้ไม่ติดข้อง ไปดีแล้ว และตรัสรู้แล้วว่า พราหมณ์ [๔๒๐] ผู้ใดมีคติที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ ก็รู้ไม่ได้ เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นอรหันตขีณาสพว่า พราหมณ์
๓๘. ธัมมทินนาเถรีวัตถุ
เรื่องพระธัมมทินนาเถรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่วิสาขอุบาสก อดีตสามีของพระธัมมทินนาเถรี ดังนี้) [๔๒๑] ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑- ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล หมดความยึดมั่นถือมั่นว่า พราหมณ์ @เชิงอรรถ : @ กิเลสเครื่องกังวล หมายถึงความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา (๘/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๖. พราหมณวรรค ๔๐. เทวหิตพราหมณวัตถุ

๓๙. อังคุลิมาลเถรวัตถุ
เรื่องพระองคุลิมาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๔๒๒] ผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ชำนะแล้ว ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้ชำระแล้ว และตรัสรู้แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์
๔๐. เทวหิตพราหมณวัตถุ
เรื่องเทวหิตพราหมณ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่เทวหิตพราหมณ์ ดังนี้) [๔๒๓] ผู้ใดระลึกอดีตชาติได้๑- เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุภาวะที่สิ้นสุดการเกิด๒- หมดภารกิจ๓- เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เราเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์
พราหมณวรรคที่ ๒๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ระลึกอดีตชาติได้ หมายถึงมีทิพยจักษุญาณเห็นสวรรค์ ๒๖ ชั้น และอบายภูมิ ๔ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) @ ภาวะที่สิ้นสุดการเกิด หมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) @ หมดภารกิจ หมายถึงหมดหน้าที่กำหนดรู้(ปริญญากิจ) หมดหน้าที่ละ(ปหานกิจ) และหมดหน้าที่ทำ @ให้แจ้ง(สัจฉิกิริยากิจ) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท รวมวรรคในธรรมบท

รวมวรรคในธรรมบท
๑. ยมกวรรค ๒. อัปปมาทวรรค ๓. จิตตวรรค ๔. ปุปผวรรค ๕. พาลวรรค ๖. ปัณฑิตวรรค ๗. อรหันตวรรค ๘. สหัสสวรรค ๙. ปาปวรรค ๑๐. ทัณฑวรรค ๑๑. ชราวรรค ๑๒. อัตตวรรค ๑๓. โลกวรรค ๑๔. พุทธวรรค ๑๕. สุขวรรค ๑๖. ปิยวรรค ๑๗. โกธวรรค ๑๘. มลวรรค ๑๙. ธัมมัฏฐวรรค ๒๐. มัคควรรค ๒๑. ปกิณณกวรรค ๒๒. นิรยวรรค ๒๓. นาควรรค ๒๔. ตัณหาวรรค ๒๕. ภิกขุวรรค ๒๖. พราหมณวรรค รวมเป็น ๒๖ วรรค อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท รวมพระคาถาในธรรมบท

รวมพระคาถาในธรรมบท
ยมกวรรค มี ๒๐ คาถา อัปปมาทวรรค มี ๑๒ คาถา จิตตวรรค มี ๑๑ คาถา ปุปผวรรค มี ๑๖ คาถา พาลวรรค มี ๑๖ คาถา ปัณฑิตวรรค มี ๑๔ คาถา อรหันตวรรค มี ๑๐ คาถา สหัสสวรรค มี ๑๖ คาถา ปาปวรรค มี ๑๓ คาถา ทัณฑวรรค มี ๑๗ คาถา ชราวรรค มี ๑๑ คาถา อัตตวรรค มี ๑๐ คาถา โลกวรรค มี ๑๒ คาถา พุทธวรรค มี ๑๘ คาถา สุขวรรค มี ๑๒ คาถา ปิยวรรค มี ๑๒ คาถา โกธวรรค มี ๑๔ คาถา มลวรรค มี ๒๑ คาถา ธัมมัฏฐวรรค มี ๑๗ คาถา มัคควรรค มี ๑๗ คาถา ปกิณณกวรรค มี ๑๖ คาถา นิรยวรรค มี ๑๔ คาถา นาควรรค มี ๑๔ คาถา ตัณหาวรรค มี ๒๖ คาถา ภิกขุวรรค มี ๒๓ คาถา พราหมณวรรค มี ๔๑ คาถา รวมพระคาถาทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้ ในนิบาต ในธรรมบทนี้ ๔๒๓ พระคาถา
ธรรมบท จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๖๖-๑๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=4280&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1301&Z=1424&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=36&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=36&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]