ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๔. เขมเสฏฐิปุตตวัตถุ

๒. ทุกขปีฬิตสัตตวัตถุ
เรื่องสัตว์ถูกทุกข์เบียดเบียน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๐๗] ภิกษุชั่วจำนวนมากมีผ้ากาสาวะพันที่คอ มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม ย่อมตกนรกเพราะบาปกรรมทั้งหลาย
๓. วัคคุมุทาตีริยภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุอยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุผู้อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา พูดอวดอุตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีในตนของกันและกันแก่คฤหัสถ์เพื่อปากท้อง จึงตรัสพระคาถาแก่ภิกษุเหล่านั้นดังนี้) [๓๐๘] การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิง ยังดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเขาถวาย๑-
๔. เขมเสฏฐิปุตตวัตถุ
เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นายเขมกะผู้ชอบเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่นดังนี้) [๓๐๙] นรชนที่ประมาท ชอบเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น ย่อมถึงฐานะ๒- ๔ ประการ คือ @เชิงอรรถ : @ ข้อความคาถานี้หมายถึงการที่บุคคลกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิงนั้นส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนา @ถึงตาย เพียงชาตินี้เท่านั้น แต่การที่ภิกษุผู้ทุศีลบริโภคข้าวที่ชาวบ้านถวายด้วยศรัทธานั้น ทำให้ตกนรก @หลายร้อยชาติ ดังนั้น การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนนั้นจึงดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลบริโภคข้าวชาวบ้าน @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๔-๑๒๕) @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุแห่งทุกข์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๕. ทุพพจภิกขุวัตถุ

(๑) ได้บาป (๒) นอนไม่เป็นสุข (๓) ถูกนินทา (๔) ตกนรก [๓๑๐] เพราะการได้บาป ๑ การได้คติที่เลว ๑ หญิงชายที่ต่างสะดุ้งกลัวมีความสนุกนิดหน่อย ๑ ถูกพระราชาลงพระอาชญาอย่างหนัก ๑ นรชนจึงไม่ควรเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น
๕. ทุพพจภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้ว่ายาก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้ว่ายาก ดังนี้) [๓๑๑] หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือได้ ฉันใด ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี๑- ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น [๓๑๒] กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย ทั้ง ๓ นั้น ไม่มีผลมาก๒- [๓๑๓] หากภิกษุพึงทำกรรมใด ก็ควรทำกรรมนั้นให้จริงจัง ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่นคง เพราะธรรมเครื่องละเว้น๓- ที่ประพฤติอย่างย่อหย่อน รังแต่จะเกลี่ยธุลี๔- ลงใส่ตัว @เชิงอรรถ : @ ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี หมายถึงภาวะแห่งความเป็นสมณะ กล่าวคือสมณธรรมที่ภิกษุ @ปฏิบัติไม่ดีเพราะเป็นผู้ทุศีล เป็นต้น ย่อมส่งผลให้สัตว์ไปเกิดในนรก (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๘) @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๘๙/๙๔, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๒๗๗/๓๘๔ @ ธรรมเครื่องละเว้น ในที่นี้หมายถึงสมณธรรม (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๘) @ ธุลี หมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๗. อาคันตุกภิกขุวัตถุ

๖. อิสสาปกติอิตถีวัตถุ
เรื่องหญิงขี้หึง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่หญิงขี้หึงและแก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๑๔] ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะระลึกถึงความชั่ว บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ส่วนความดี ทำไว้เถิดดีกว่า เพราะทำแล้วระลึกถึงภายหลังบุคคลย่อมไม่เดือดร้อน
๗. อาคันตุกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุอาคันตุกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุอาคันตุกะผู้อยู่ในเมืองชายแดน ดังนี้) [๓๑๕] เมืองชายแดนได้รับการคุ้มครองทั้งภายในและภายนอก ฉันใด เธอทั้งหลายจงคุ้มครองตนให้ได้ ฉันนั้น ขณะ๑- อย่าได้ล่วงเลยเธอทั้งหลายไปเสีย เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป ย่อมเศร้าโศก แออัดอยู่ในนรก๒- @เชิงอรรถ : @ ขณะ หมายถึงเวลา หรือสมัย มี ๔ คือ (๑) ขณะแห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า (๒) ขณะแห่งการเกิด @ในมัชฌิมประเทศ (๓) ขณะแห่งการได้สัมมาทิฏฐิ (๔) ขณะแห่งอายตนะทั้ง ๖ ไม่วิกลวิกาล (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๑) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๖๕๓/๔๕๒, ๑๐๐๔/๕๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๙. ติตถิยสาวกวัตถุ

๘. นิคัณฐวัตถุ
เรื่องนิครนถ์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๑๖] สัตว์ทั้งหลายผู้ละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย และไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ [๓๑๗] สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และเห็นสิ่งที่ควรกลัวว่าไม่ควรกลัว ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ
๙. ติตถิยสาวกวัตถุ
เรื่องสาวกเดียรถีย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่สาวกของเดียรถีย์ ดังนี้) [๓๑๘] สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ๑- และเห็นสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ชื่อว่าถือมั่นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ [๓๑๙] สัตว์ทั้งหลายผู้รู้สิ่งที่มีโทษว่ามีโทษ และรู้สิ่งที่ไม่มีโทษว่าไม่มีโทษ ชื่อว่าถือมั่นสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุคติ
นิรยวรรคที่ ๒๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ เห็นสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ หมายถึงเห็นสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ ประการ และ @เห็นธรรมที่ส่งเสริมสัมมาทิฏฐิว่าเป็นธรรมที่ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๓๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๒๙-๑๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=3320&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1080&Z=1117&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=32              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=32&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=32&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]