ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๘. จูฬสุภัททาวัตถุ

เรือนที่ครอบครองไม่ดี ก่อให้เกิดทุกข์๑- การอยู่ร่วมกับคนเสมอกันเป็นทุกข์ การเดินทางไกล๒- ก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเป็นผู้เดินทางไกล และไม่ควรให้ทุกข์ติดตามได้
๗. จิตตคหปติวัตถุ
เรื่องจิตตคหบดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้) [๓๐๓] คนมีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล๓- เพียบพร้อมด้วยยศ๔- และโภคทรัพย์ จะไปสู่ถิ่นใดๆ ย่อมได้รับการบูชาในถิ่นนั้นๆ
๘. จูฬสุภัททาวัตถุ
เรื่องนางจูฬสุภัททา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๐๔] สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ ฉะนั้น อสัตบุรุษทั้งหลาย ณ ที่นี้ย่อมไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น๕- @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้ครองเรือนจะต้องปฏิบัติราชกิจของพระราชา หรือกิจของอิสรชน จะต้องสงเคราะห์ชนข้างเคียง @และให้ทานแก่สมณพราหมณ์ เพราะฉะนั้น การครองเรือนจะให้สมบูรณ์เต็มที่เป็นไปได้ยาก ถ้าครองเรือน @ไม่ดี ก็ก่อให้เกิดทุกข์ได้ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๙) @ การเดินทางไกล หมายถึงการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๐) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีลสำหรับผู้ครองเรือน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๑) @ ยศ ในที่นี้หมายถึงความมีบริวาร (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๑) @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๑. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ

๙. เอกวิหาริเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้อยู่รูปเดียว
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๐๕] ภิกษุพึงยินดีการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว๑- ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไปตามลำพัง ฝึกฝนอยู่ผู้เดียว และยินดีการอยู่ป่า
ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ จบ
๒๒. นิรยวรรค
หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
๑. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ
เรื่องปริพาชิกาชื่อสุนทรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๐๖] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า๒- @เชิงอรรถ : @ คำว่า “นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว” มิใช่หมายถึงการอยู่ตามลำพัง แต่หมายถึงการอยู่อย่างไม่ละการมนสิการ @กัมมัฏฐาน เมื่อทำได้อย่างนี้ แม้จะอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุพันรูป ก็ชื่อว่า นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๘) @ ดู อุทาน ข้อ ๓๘ หน้า ๒๔๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙, สุตตนิบาต ข้อ ๖๖๗ หน้า ๖๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๒๗-๑๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=3266&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1035&Z=1079&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=31&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=31&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]