ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๙. ธัมมัฏฐวรรค ๘. ติตถิยวัตถุ

๗. อัญญตรพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
(พราหมณ์คนหนึ่งเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนาเที่ยวบิณฑบาตอย่างภิกษุ วันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคประสงค์จะให้พระองค์ตรัสเรียกว่าภิกษุ พระองค์ จึงตรัสพระคาถา ดังนี้) [๒๖๖] บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ๑- เพียงเพราะขอจากผู้อื่นเท่านั้น ทั้งไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะยังสมาทานธรรมที่เป็นพิษอยู่๒- [๒๖๗] ในศาสนานี้ ผู้ที่ลอยบุญและบาปได้แล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ในโลกด้วยปัญญา จึงจะชื่อว่า ภิกษุ
๘. ติตถิยวัตถุ
เรื่องเดียรถีย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๖๘] บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่ ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว [๒๖๙] เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่า มุนีแท้ ผู้ที่รู้โลกทั้งสอง ก็เรียกว่า มุนี(เช่นกัน)๓- @เชิงอรรถ : @ ภิกษุ ในที่นี้หมายถึงผู้ทำลายกิเลสทั้งหลายได้ด้วยญาณ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๑) @ สมาทานธรรมที่เป็นพิษ หมายถึงมีความประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๑) @ คาถาธรรมบท ๒ ข้อนี้ มีข้อความสัมพันธ์กัน ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๔/๗๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๑/๑๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๑๙. ธัมมัฏฐวรรค ๑๐. สัมพหุลสีลาทิสัมปันนภิกขุวัตถุ

๙. อริยพาฬิสิกวัตถุ
เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามชื่อนายพรานเบ็ด นายพรานเบ็ดทูลตอบว่าชื่ออริยะ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระคาถานี้แก่เขา ดังนี้) [๒๗๐] บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะยังเบียดเบียนสัตว์อยู่ แต่ชื่อว่า อริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
๑๐. สัมพหุลสีลาทิสัมปันนภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นหลายรูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๗๑] ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงมีศีล๑- และวัตร๒- แม้ด้วยความเป็นพหูสูต๓- ด้วยการได้สมาธิ๔- หรือด้วยการนอนในที่สงัด [๒๗๒] หรือด้วยการรู้ประจักษ์ว่าเราได้สัมผัสเนกขัมมสุข๕- ที่ปุถุชนไม่เคยได้สัมผัส แต่ถ้าเธอยังไม่บรรลุความสิ้นอาสวะ ก็อย่าไว้วางใจ
ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ (ปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล) @(ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๙๗ ในเล่มนี้ @ ความเป็นพหูสูต หมายถึงเรียนปิฎก ๓ (พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก) (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖) @ สมาธิ หมายถึงสมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖) @ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขของพระอนาคามี (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๑๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=2961&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=946&Z=985&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=29              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=29&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=29&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]