ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. โกกาลิกสูตร๑-
ว่าด้วยพระโกกาลิกะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว” เมื่อโกกาลิกภิกษุกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิก- ภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจง ทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีล เป็นที่รัก” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๑/๒๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐๐-๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มี ความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มี ความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าว อย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะ เถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก” ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ ประทักษิณแล้วจากไป เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิด ขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วเขียว โตเท่า เมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม โตเท่า ผลมะตูมอ่อน เท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดไหลออกมา โกกาลิกภิกษุเพราะทนพิษตุ่มแตกนั้นไม่ไหวจึงมรณภาพลงในขณะนั้น และเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

มรณภาพลงแล้วได้ไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและ ท่านพระโมคคัลลานะ ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑- ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี ให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน อยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตร และท่านพระโมคคัลลานะ” ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหม ฯลฯ ภิกษุ ทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานมาก ประมาณ อายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้” ภิกษุนั้นทูลถามอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้ หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียน เมล็ดงาของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑- ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำ เมล็ดงาออกจากเกวียนนั้น ๑ เมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒- หาหมด ไปไม่ ๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพพนรก ๒๐ อพพนรก เป็น ๑ อหหนรก ๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก ๒๐ อฏฏนรก เป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลกนรก ๒๐ อุปปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก ภิกษุ โกกาลิกภิกษุนี้เกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและ โมคคัลลานะ” @เชิงอรรถ : @ ขารี เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้ @๔ กุฑุวะ หรือปสตะ(ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ) @๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ @๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ @๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา @๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี @๒๐ ขารี เป็น ๑ เกวียน @(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔) @ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพพนรก อหหนรก อฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลกนรก ปุณฑรีกนรก @ปทุมนรก ทั้งหมดนี้อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง @สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะ @เวลาในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖, ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗) @อนึ่ง นรกเหล่านี้ปรากฏชื่อตามจำนวนสังขยา อรรถกถาให้นัยไว้ว่า นรกเหล่านี้มีวิธีนับระยะเวลาปี @ของอัพพุทนรกเป็นตัวอย่างดังนี้ คือ @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี เป็น ๑ โกฏิ-ปี @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ-ปี เป็น ๑ ปโกฏิ-ปี @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปโกฏิ-ปี เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ-ปี @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิปโกฏิ-ปี เป็น ๑ นหุต-ปี @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นหุต-ปี เป็น ๑ นินนหุต-ปี @๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นินนหุต-ปี เป็น ๑ อัพพุทะ-ปี @ต่อจากอัพพุทะไปใช้ ๑ x ๒๐ เช่น ๒๐ อัพพุทะ (๑ อัพพุทะ x ๒๐) ได้เท่ากับ ๑ นิรัพพุทะ เป็นต้น @(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, กัจ. ๕/๘/๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๖๖๓] ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง๑- เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล [๖๖๔] ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น [๖๖๕] การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า [๖๖๖] บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะย่อมเข้าถึงนรก สิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป [๖๖๗] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก๒- @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ผึ่ง” หมายถึงชื่อเครื่องมือสำหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปคล้ายจอบ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย- @สถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) @ ดูธรรมบท ข้อ ๓๐๖ หน้า ๑๒๘, อุทาน ข้อ ๓๘ หน้า ๒๔๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้วมีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า [๖๖๘] บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้ ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น๑- [๖๖๙] ผู้หมกมุ่นในความโลภต่างๆ ไม่มีศรัทธา มีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่รู้พุทธพจน์ มีความตระหนี่ ชอบพูดส่อเสียด ย่อมใช้วาจากล่าวร้ายผู้อื่น [๖๗๐] โกกาลิกะผู้มีปากเป็นหล่ม ชอบพูดเท็จ ไม่ใช่คนดี ชอบกำจัดความเจริญของตน เป็นคนชั่ว ชอบทำแต่กรรมชั่ว เป็นคนต่ำช้า เป็นคนอาภัพ เป็นอวชาตบุตร เธออย่าพูดมากในที่นี้ อย่าต้องเป็นสัตว์นรกเลย [๖๗๑] เธอย่อมเกลี่ยธุลีคือกิเลสลงใส่ตน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเลย เธอชอบทำกรรมหยาบช้าแล้ว ยังติเตียนสัตบุรุษ เธอประพฤติทุจริตมากมาย ต้องไปเกิดในมหานรกเป็นเวลายาวนานแน่นอน [๖๗๒] กรรม๒- ของใครๆ ย่อมไม่สูญหายไปไหน เขาต้องได้รับผลกรรมนั้น และเป็นเจ้าของกรรมนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูธรรมบท ข้อ ๑๒๕ หน้า ๗๐ ในเล่มนี้ @ กรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรม และอกุศลกรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๖๗๒/๓๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

คนโง่เขลาผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบ จะประสบทุกข์ที่ตนได้รับในปรโลก [๖๗๓] ผู้ทำกรรมชั่วย่อมเข้าถึงสถานที่ที่นายนิรยบาล เอาขอเหล็กอันคมกริบมาเกี่ยวไว้ ถูกหลาวเหล็กอันคมกริบเสียบไว้ และมีก้อนเหล็กแดงโชติช่วงเป็นอาหาร ตามสมควรแก่ความชั่ว ตามสมควรแก่กรรมชั่วที่ตนทำไว้ [๖๗๔] นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดกับสัตว์นรก ก็พูดไม่ไพเราะ สัตว์นรกเหล่านั้นจะวิ่งหนีไปก็ไม่ได้ จะเข้าไปขอความช่วยเหลือก็ไม่ได้ จึงนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง [๖๗๕] นายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพันสัตว์นรก แล้วทุบด้วยค้อนเหล็กในที่นั้นๆ สัตว์นรกทั้งหลายเข้าไปสู่นรกหมอกควันที่มืดทึบ ซึ่งปกคลุมอบอวลไปทั่วดุจกลุ่มหมอก [๖๗๖] ต่อจากนั้น สัตว์นรกเหล่านั้น ก็เข้าไปสู่โลหกุมภีนรกที่มีเปลวไฟลุกโพลง ลอยวนขึ้นลงพร้อมกับถูกไฟไหม้อยู่ ในหม้อเหล็กที่ติดไฟลุกนั้นเป็นเวลานานแสนนาน [๖๗๗] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ จะพลิกหนีไปทางทิศใดๆ ก็ถูกไฟตามเผาไหม้อยู่ ในหม้อเหล็กร้อนแดงที่ปนด้วยหนองและเลือด ได้รับทุกข์ระกำลำบาก ซ้ำยังแปดเปื้อนหนองและเลือดอยู่ในโลหกุมภีนรกนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]

๑๐. โกกาลิกสูตร

[๖๗๘] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ ย่อมหมกไหม้อยู่ในน้ำที่มีหมู่หนอนยั้วเยี้ยในโลหกุมภี นรกแต่ละขุมนั้นๆ ไม่มีฝั่งที่จะให้ขึ้นอาศัยเลย เพราะมีกระทะครอบอยู่อย่างมิดชิดรอบทุกทิศ [๖๗๙] ยังมีป่าไม้ที่มีใบคม เหมือนดาบขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งพวกสัตว์นรกเข้าไปก็จะถูกตัดลำตัวขาดทันที นายนิรยบาลก็จะเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้น ทรมานด้วยการดึงออกมาเรื่อยๆ [๖๘๐] ต่อจากนั้น สัตว์นรกนั้นต้องตกนรกน้ำกรดซึ่งเป็นแอ่ง ถูกคมมีดโกนคมกริบกรีดตามตัว สัตว์ที่โง่เขลาชอบทำบาปไว้มาก จึงต้องตกลงไปบนคมมีดโกนนั้น [๖๘๑] เพราะได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ สัตว์นรกจึงถูกสุนัขดำด่าง และสุนัขจิ้งจอกรุมทึ้งกัดกิน ร้องคร่ำครวญอยู่ในที่นั้นๆ ซ้ำยังถูกฝูงแร้ง กา และนกตะกรุมรุมทึ้งจิกกินอีก [๖๘๒] คนผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบเป็นประจำ ต้องรู้แก่ใจว่า การดำรงอยู่ในนรกนี้ทุกข์ยากลำบากจริงๆ เพราะฉะนั้น นรชนจึงควรรีบทำกิจที่ควรทำแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ และไม่ควรประมาท [๖๘๓] เกวียนบรรทุกงาที่ผู้รู้ทั้งหลายนับคำนวณ แล้วนำเข้าไปเปรียบกับอายุสัตว์ที่เกิดในปทุมนรก ก็ได้เท่ากับ ๕๑,๒๐๐ โกฏิ [๖๘๔] สัตว์นรกทั้งหลาย ต้องอยู่ในนรกซึ่งมีทุกข์มากมาย ตามที่เรากล่าวไว้ในที่นี้ ตลอดระยะเวลายาวนาน เพราะฉะนั้น บุคคลควรกำหนดรักษาวาจาใจให้เป็นปกติ ในท่านผู้บริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก และมีคุณงามความดี
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๕๕-๖๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=17623&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=263              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9435&Z=9555&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=384              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=384&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=384&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]