ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. อปรปุคคลวรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร

๕. อปรปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล อีกหมวดหนึ่ง
๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรเสพ๑- เป็นต้น
[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ ๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๕ (เสวิตัพพสูตร) หน้า ๒๙๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. อปรปุคคลวรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร

๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นผู้ควรเสพ (๑) (ในที่นี้ ควรนับสูตรที่ ๒๐๐ เป็นต้นไปตามที่ ฯลฯ ไว้) [๒๐๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ... [๒๐๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ... [๒๐๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ... [๒๐๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ... [๒๐๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ... [๒๐๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ... [๒๐๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ... [๒๐๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ... [๒๐๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ... ภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. อปรปุคคลวรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร

[๒๐๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ... (๒-๑๑) [๒๑๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล ๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก (๑๒)
นเสวิตัพพาทิสูตร จบ
อปรปุคคลวรรคที่ ๕ จบ
จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๔๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=9688&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=186              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=6709&Z=6764&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=188              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=188&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=188&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]