ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค ๙. เจโตขีลสูตร

๙. เจโตขีลสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๒- จิตของ ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการ ที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ ๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา) ฯลฯ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๙/๒๑๑, ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕/๓๔๗, @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๓-๕๙๔ @ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ @ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. สติปัฏฐานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร

ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจ ตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องตรึง จิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
เจโตขีลสูตรที่ ๙ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๕๕-๕๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=15472&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=234              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9844&Z=9863&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=275              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=275&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=275&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]