ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๑๐. ภูมิจาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านจงขวนขวายน้อย๑- เถิด ไม่นานนัก ตถาคตจะปรินิพพาน จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน” เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๒- แล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง ครั้นพระผู้มี พระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นดังนี้ว่า “มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้ เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ ฉะนั้น” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง” ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหว อย่างรุนแรง” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ทำให้แผ่นดิน ไหวอย่างรุนแรง @เชิงอรรถ : @ ขวนขวายน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องกังวลห่วงใย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗) @ ปลงอายุสังขาร หมายถึงสลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ ตกลงพระทัยอย่างมีสติมั่นคง และกำหนดรู้ด้วย @พระปัญญาว่าจะปรินิพพาน (ที.ม.อ. ๒/๑๗๗/๑๖๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค ๑๐. ภูมิจาลสูตร

เหตุปัจจัย ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ เวลา ที่ลมพายุพัดแรงย่อมทำให้น้ำกระเพื่อม น้ำที่กระเพื่อมย่อมทำให้ แผ่นดินไหวตาม นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๑ ที่ทำให้แผ่นดินไหว อย่างรุนแรง ๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ เชี่ยวชาญทางจิต หรือเหล่าเทวดาผู้มี ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากได้เจริญปฐวีสัญญานิดหน่อย แต่เจริญ อาโปสัญญาจนหาประมาณมิได้ จึงทำให้แผ่นดินนี้ไหวสั่นสะเทือน เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๒ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่าง รุนแรง ๓. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะจุติจากภพดุสิต เสด็จสู่พระครรภ์ ของพระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย ประการที่ ๓ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๔. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของ พระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย ประการที่ ๔ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ๕. คราวที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๕ ที่ทำให้แผ่นดินไหว อย่างรุนแรง ๖. คราวที่ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป แผ่นดินนี้ ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๖ ที่ทำให้ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ภูมิจาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. คราวที่ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๗ ที่ทำให้แผ่นดินไหว อย่างรุนแรง ๘. คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้ก็ ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๘ ที่ทำให้แผ่นดินไหว อย่างรุนแรง อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง”
ภูมิจาลสูตรที่ ๑๐ จบ
ภูมิจาลวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อิจฉาสูตร ๒. อลังสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. คยาสีสสูตร ๕. อภิภายตนสูตร ๖. วิโมกขสูตร ๗. อนริยโวหารสูตร ๘. อริยโวหารสูตร ๙. ปริสาสูตร ๑๐. ภูมิจาลสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๗๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๗๖-๓๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=10520&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=143              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=6499&Z=6623&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=167              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=167&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=167&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]