ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กิมพิลวรรค ๕. เจโตขิลสูตร

๕. เจโตขิลสูตร๑-
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๒- ๕ ประการนี้ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓- จิตของภิกษุ ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ของ ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม๔- ฯลฯ ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์๕- ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/๓๘๐-๓๘๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔) @ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (เจโตขิลา) หมายถึงสภาวะที่จิตแข็งกระด้าง เป็นดุจหยากเยื่อ เป็นดุจตอ ได้แก่ @วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และโกธะ (ความโกรธ) เมื่อกิเลส ๒ ตัวนี้ เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด จิตของผู้นั้น @ย่อมแข็งกระด้าง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๕/๙๓) @ ไม่เลื่อมใสในศาสดา หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ @ประการ และไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพระสัพพัญญุตญาณที่สามารถรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) @ ไม่เลื่อมใสในธรรม หมายถึงไม่เชื่อในปริยัติธรรมว่าพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรม @ขันธ์ และไม่เชื่อในปฏิเวธธรรมว่า มรรคเกิดจากวิปัสสนา ผลเกิดจากมรรค และนิพพานคือธรรมเป็นที่ @สละคืนสังขารทั้งปวง จะมีอยู่จริงหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) @ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ หมายถึงไม่เชื่อในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง และเป็นผู้ @ดำรงอยู่ในมรรค (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค @(๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค และดำรงอยู่ในผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค) @คือ (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) และดู @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร

๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อ เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล
เจโตขิลสูตรที่ ๕ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=9813&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=205              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5784&Z=5806&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=205              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=205&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=205&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]