ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. สมณสุขุมาลสูตร
ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าเป็นสมณะ ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขา ไม่ขอร้องจึงฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อ เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัย เภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร

๒. เธออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้น ก็ ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ เป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ๓. เวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล เวทนาที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่ เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วน มากไม่เกิดแก่เธอ เธอจึงมีความเจ็บไข้น้อย ๔. เธอเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๕. เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า ‘เป็น สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเราเมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อ เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึง ฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อ เขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ของร้องจึงใช้สอยน้อย @เชิงอรรถ : @ อันมีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. ผาสุวิหารวรรค ๕. ผาสุวิหารสูตร

และเราอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรม เป็น ที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ เป็นส่วนน้อย และเวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล เวทนาที่เกิดจาก การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง และ เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วนมากไม่เกิดแก่เรา เราจึงมีความเจ็บไข้น้อย เราเป็น ผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
สมณสุขุมาลสูตรที่ ๔ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=5152&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=104              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3003&Z=3047&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=104              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=104&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=104&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]