ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร

๑๐. มหาสาลปุตตสูตร
ว่าด้วยต้นสาละใหญ่กับกุลบุตร
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วย ความเจริญ ๕ ประการ ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือก ๓. สะเก็ด ๔. กระพี้ ๕. แก่น ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วยความ เจริญ ๕ ประการนี้ ฉันใด ชนภายใน๑- อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศรัทธา(ความเชื่อ) ๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย) ๓. สุตะ(การสดับฟังหาความรู้) ๔. จาคะ (การเสียสละ) ๕. ปัญญา (ความรอบรู้) ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความ เจริญ ๕ ประการนี้ ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่ หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงภรรยา บุตร ธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์๑- หมู่ญาติ และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมงอกงามในโลกนี้ ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล จาคะ และสุจริต (ความประพฤติดี) ของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้วย่อมทำตาม บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา ย่อมบันเทิงในเทวโลก๒-
มหาสาลปุตตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุมนวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุมนสูตร ๒. จุนทีสูตร ๓. อุคคหสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร ๕. ทานานิสังสสูตร ๖. กาลทานสูตร ๗. โภชนทานสูตร ๘. สัทธสูตร ๙. ปุตตสูตร ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร @เชิงอรรถ : @ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่ทำกิจการงานร่วมกัน ชี้แนะกันได้ ปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกอิริยาบถ @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๙/๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๒-๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1782&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=973&Z=1000&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=40              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=40&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=40&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]