ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๕. อนุตัปปิยสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
[๑๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ... ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ... ๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ... ๕. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ... ๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. สารณียวรรค ๕. อนุตัปปิยสูตร

ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ เป็นผู้ชอบการงาน ๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ... ๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ... ๔. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ... ๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ... ๖. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อนุตัปปิยสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๓๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๓๔-๔๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=12177&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=266              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6980&Z=7008&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=286              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=286&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=286&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]