ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. อาภาวรรค ๓. อาโลกสูตร

๕. อาภาวรรค
หมวดว่าด้วยแสงสว่าง
๑. อาภาสูตร
ว่าด้วยแสงสว่าง
[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้ แสงสว่าง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ ๒. แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ ๓. แสงสว่างแห่งไฟ ๔. แสงสว่างแห่งปัญญา ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้แล บรรดาแสงสว่าง ๔ ประการนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ
อาภาสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปภาสูตร
ว่าด้วยรัศมี
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้ รัศมี ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รัศมีแห่งดวงจันทร์ ๒. รัศมีแห่งดวงอาทิตย์ ๓. รัศมีแห่งไฟ ๔. รัศมีแห่งปัญญา ภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้แล บรรดารัศมี ๔ ประการนี้ รัศมีแห่งปัญญาเป็นเลิศ
ปภาสูตรที่ ๒ จบ
๓. อาโลกสูตร
ว่าด้วยความสว่าง
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้ ความสว่าง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. อาภาวรรค ๕. ปัชโชตสูตร

๑. ความสว่างแห่งดวงจันทร์ ๒. ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์ ๓. ความสว่างแห่งไฟ ๔. ความสว่างแห่งปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้แล บรรดาความสว่าง ๔ ประการนี้ ความสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ
อาโลกสูตรที่ ๓ จบ
๔. โอภาสสูตร
ว่าด้วยความสว่างไสว
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย ความสว่างไสว ๔ ประการนี้ ความสว่างไสว ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความสว่างไสวแห่งดวงจันทร์ ๒. ความสว่างไสวแห่งดวงอาทิตย์ ๓. ความสว่างไสวแห่งไฟ ๔. ความสว่างไสวแห่งปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ความสว่างไสว ๔ ประการนี้แล บรรดาความสว่างไสว ๔ ประการนี้ ความสว่างไสวแห่งปัญญาเป็นเลิศ
โอภาสสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปัชโชตสูตร
ว่าด้วยความรุ่งเรือง
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้ ความรุ่งเรือง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความรุ่งเรืองแห่งดวงจันทร์ ๒. ความรุ่งเรืองแห่งดวงอาทิตย์ ๓. ความรุ่งเรืองแห่งไฟ ๔. ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล บรรดาความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้ ความรุ่งเรืองแห่งปัญญาเป็นเลิศ
ปัชโชตสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. อาภาวรรค ๗. ทุติยกาลสูตร

๖. ปฐมกาลสูตร
ว่าด้วยกาล สูตรที่ ๑
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้ กาล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฟังธรรมตามกาล๑- ๒. การสนทนาธรรม๒- ตามกาล ๓. ความสงบใจตามกาล ๔. ความเห็นแจ้งตามกาล ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้แล
ปฐมกาลสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยกาลสูตร
ว่าด้วยกาล สูตรที่ ๒
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุน เวียนไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ กาล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การฟังธรรมตามกาล ๒. การสนทนาธรรมตามกาล ๓. ความสงบใจตามกาล ๔. ความเห็นแจ้งตามกาล กาล ๔ ประการนี้แลที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียนไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็ม แล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ทำให้แม่น้ำ ใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม แม้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ กาล ในที่นี้หมายถึงเวลาที่เหมาะสม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔๖/๓๘๓) @ หมายถึงถ้อยคำสนทนาในการถามและตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔๖/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. อาภาวรรค ๙. สุจริตสูตร

กาล ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียน ไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ
ทุติยกาลสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้ วจีทุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ
๙. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้ วจีสุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัจจวาจา (พูดจริง) ๒. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด) ๓. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) ๔. มันตภาสา๑- (พูดด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล
สุจริตสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ มันตภาสา ในที่นี้หมายถึงคำพูดที่กำหนดด้วยปัญญาคือมันตา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔๙-๑๕๐/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๕. อาภาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. สารสูตร
ว่าด้วยสารธรรม
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสาร) ๔ ประการนี้ สารธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสารธรรม๑- (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือศีล) ๒. สมาธิสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือสมาธิ) ๓. ปัญญาสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือปัญญา) ๔. วิมุตติสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือวิมุตติ) ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม ๔ ประการนี้แล
สารสูตรที่ ๑๐ จบ
อาภาวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาภาสูตร ๒. ปภาสูตร ๓. อาโลกสูตร ๔. โอภาสสูตร ๕. ปัชโชตสูตร ๖. ปฐมกาลสูตร ๗. ทุติยกาลสูตร ๘. ทุจจริตสูตร ๙. สุจริตสูตร ๑๐. สารสูตร
ตติยปัณณาสก์ จบ
@เชิงอรรถ : @ สีลสารธรรม ในที่นี้หมายถึงศีลที่ให้สำเร็จประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔๙-๑๕๐/๓๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๑๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6206&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=131              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3835&Z=3883&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=141              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=141&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=141&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]