ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อุรุเวลวรรค ๓. โลกสูตร

เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ แผ่อำนาจไปใน โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต‘๑- บุคคลใดรู้แจ้งโลกทั้งปวง ตามความเป็นจริงทั้งหมด พรากจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสสั่งสมอยู่ในโลกทั้งปวง บุคคลนั้นแลครอบงำอารมณ์ได้ทั้งหมด เป็นนักปราชญ์ ปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้ทั้งหมด บรรลุนิพพานที่มีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหน บุคคลนี้สิ้นอาสวะ เป็นพุทธะ๒- ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้ บรรลุความสิ้นกรรมทั้งปวง หลุดพ้นเพราะสิ้นอุปธิกิเลส บุคคลนั้นเป็นผู้มีโชค ตรัสรู้ เปรียบเหมือนราชสีห์ที่ยอดเยี่ยม ประกาศพรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ๓- มาประชุมกัน นมัสการพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๑๘๘/๑๑๗ @ พุทธะ หมายถึงตรัสรู้อริยสัจ ๔ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๗) @ สรณะ หมายถึงสิ่งที่ทำลาย ขจัด ปัดเป่า บรรเทาทุกข์ภัยและกิเลส การยึดถือพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ @ก็เพื่อเป็นเครื่องช่วยทำลาย ขจัด ปัดเป่าทุกข์ภัย และกิเลสต่างๆ ในจิตใจให้หมดสิ้น (ขุ.ขุ.อ. หน้า ๖-๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อุรุเวลวรรค ๔. กาฬการามสูตร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้านั้น ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้าด้วยการสรรเสริญว่า เป็นผู้ฝึกตนที่ประเสริฐสุดในหมู่ผู้ฝึกตนทั้งหลาย เป็นฤๅษีผู้สงบกว่าผู้สงบทั้งหลาย เป็นผู้หลุดพ้นที่ยอดเยี่ยมกว่าผู้หลุดพ้นทั้งหลาย เป็นผู้ข้ามพ้นที่ประเสริฐกว่าผู้ข้ามพ้นทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีบุคคลที่เปรียบเทียบกับพระองค์ได้
โลกสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๘-๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1111&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=596&Z=634&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=23              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=23&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=23&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]