ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อุรุเวลวรรค ๒. ทุติยอุรุเวลสูตร

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑- ๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๒- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้แล” บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีความดำริไม่มั่นคงเหมือนมฤค ยินดีในอสัทธรรม กล่าวคำไร้สาระเป็นอันมาก มีความเห็นต่ำทราม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมห่างไกลจากความเป็นผู้มั่นคง ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบอยู่ในธรรมที่มั่นคง ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยมรรคปัญญา ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง๓- ไม่มีกิเลสเกาะยึดไว้ มีปฏิภาณ ละความเกิดและความตายได้แล้ว เพียบพร้อมด้วยพรหมจรรย์ @เชิงอรรถ : @ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ จิตยิ่ง (อาภิเจตสิก) หมายถึงจิตที่บริสุทธิ์ดียิ่ง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง หมายถึงที่สุดคือฝั่ง ๖ ประการ คือ (๑) ฝั่งอภิญญา (๒) ฝั่งปริญญา @(๓) ฝั่งปหานะ (๔) ฝั่งภาวนา (๕) ฝั่งสัจฉิกิริยา (๖) ฝั่งสมาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อุรุเวลวรรค ๓. โลกสูตร

เราเรียกภิกษุผู้ไม่มีอาสวะว่า ‘เถระ’ เราเรียกภิกษุนั้นว่า ‘เถระ’ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๖-๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1049&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=555&Z=595&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=22              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=22&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=22&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]